การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ และการฟื้นฟูแหล่งอาหารของชุมชน: กรณีศึกษาบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

อ้อมบุญ ทิพย์สุนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นความสำคัญของระบบนิเวศแม่น้ำโขงต่อวิถีการดำรงชีพของชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงต่อชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารของชุมชนและความสามารถของคนในชุมชนในการปรับตัวเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศสำหรับการรักษาแหล่งความมั่นคงของอาหาร บทความนี้ดำเนินการเก็บและสรุปข้อมูลผ่านกระบวนการ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามด้วยแนวคิดวิถีการดำรงชีพและความมั่นคงอาหาร  ประเด็นค้นพบที่สำคัญสำคัญวิถีชีวิตของชาวบ้านพึ่งพาทรัพยากรแม่น้ำโขงเป็นหลักในฐานะแหล่งอาหาร แหล่งสร้างรายได้ และแม่น้ำโขงคือพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำคัญมากเห็นได้พิธีกรรมแข่งเรือ และ ตำนานความเชื่อร่วมเรื่องยักษ์ที่สัมพันธ์กับแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม การสร้างเขื่อนในลำน้ำโขงทำให้เกิดการสูญหายไปของอาหารและรายได้ของชาวบ้านที่หาได้จากแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการสูญหายไปของปลาและพื้นที่เกษตรริมแม่น้ำโขง กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือระดมข้อสรุปจากงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการสูญหายของทรัพยากรปลาและสัตว์น้ำจากแม่น้ำโขง ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือกันริเริ่มทำ “เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาแม่น้ำโขง” เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศแม่น้ำโขงและความมั่นคงอาหาร


             

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหารสิ่งบ่งชี้ทางวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหาร ศาสตร์. 57(1): 200-223.
ศรีศักร วัลลิโภดม (2540) แอ่งอารยธรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์มติชน: กรุงเทพมหานคร
เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดแม่น้ำโขง. (2562). สรุปสถานการณ์แม่น้ำโขงสำหรับลูกหลานแม่น้ำโขง สืบค้น จาก https://www.mymekong.org/wp-content/uploads/2019/07/The-Mekong-River- Situation.pdf เข้าใช้ข้อมูลวันที19 กันยายน 2563.
สำนักข่าวชายขอบ 2562 ข้อเท็จจริง 8 ประการ กรณีการสร้างเขื่อนไซยะบุรี และคำถามถึงความรับผิดชอบ ของธนาคารที่ปล่อยกู้ https://transbordernews.in.th/home/?p=24097. เข้าใช้ข้อมูลวันที19 กันยายน 2563.
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงรกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556. การศึกษาเพ ื่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิต ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในเขตอนุรักษ ชุมชนกระเหลี่ยงในผืนป่าตะวันตก ปีที่ 1. กรุงเทพฯ. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงรกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัลพัชร ประเสริฐศักดิ์. ออน์ไลน์. แนวคิดและคำนิยามของความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้นจาก http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/36/24.pdf วันที่ 19 กันยายน 2563.
ศยามล เจริญทัศน์ 2556 ความมั่นคงทางอาหาร ป่าชุมชน กับการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อช ุมชน ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. 2554. มโนทัศน์การดำรงชีพ. กองทุนพัฒนาวิชาการ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พนา ใจตรง และกนกวรรณ มะโนรมย์. (2557). พลวัตการเคลื่อนไหวและการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (2), 83-101.
Bebbington, A. (1999). Capitals and capabilities: A framework for analyzing peasant viability, rural livelihoods and poverty. World Development, 27(12), 2021–2044.
Chambers, R., & Conway, G. (1992). Sustainable rural livelihoods: Practical concepts for the 21st century. UK: Institute of Development Studies.
De Haan, L., & Zoomers, A. (2006). How to research the changing outlines of African livelihoods.
Africa Development, 31(4), 121– 150.
DIFD. (1999). DFID sustainable livelihoods guidance sheets. Retrieved from
https://www.ennonline.net/attachments/871/dfid-sustainable-livelihoods-guidance- sheet-section1.pdf, accessed August 24, 2020.
Ellis, F. (2000). The determinants of rural livelihood diversification in developing countries. Journal of Agricultural Economics, 51(2), 289–302.