กระบวนการกลุ่มเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเพื่อเท่าทันการพนัน ในชุมชนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา

Main Article Content

Ubon Sawasphon

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องพนันในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการกลุ่มเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในชุมชน การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) โดยจัดกระบวนการกลุ่มผ่านการใช้เครื่องมือ ชุดเรียนรู้เรียนรู้เพื่อเท่าทันพนัน 5 ชุดเรียนรู้ ได้แก่ 1. ชุดเรียนรู้เกมละครผจญภัย เกาะมหาสมบัติ 2. ชุดเรียนรู้ละครถกแถลง 3. ชุดเรียนรู้ บอร์ดเกม Dream Ranger  4. ชุดเรียนรู้การ์ดเกม บักเซี่ยงเหมี่ยง และ 5. ชุดเรียนรู้เกมใบ้คำ เอ็กช์โอ (XO)  โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนากิจกรรมให้ความรู้เรื่องพนัน ประกอบด้วย แกนนำนักวิจัยเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านจำนวน 13 คน และนักเรียนในโรงเรียน จำนวน 50  คน ผลการศึกษาพบว่า การใช้เครื่องมือชุดเรียนรู้พนัน เป็นสร้างคุณลักษณะภายในเชิงบวกของเด็กและเยาวชนที่รู้จักการปฏิเสธพนัน โดยคุณลักษณะเหล่านี้ได้สะท้อนจากผู้เล่นที่แสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างเล่น ซึ่งผู้นำกระบวนการบอร์ดเกมหรือการ์ดเกมจะต้องพยายามให้ความสำคัญในการสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ที่ปรากฏออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ/ไม่เป็นธรรมชาติโดยที่ผู้เล่นไม่รู้ตัว เช่น ในรูปของสีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียง ภาษา คำพูด คำอุทาน ฯลฯ ที่ผู้นำกระบวนการสังเกตได้ กระบวนการดังกล่าวพบทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ในการใช้เครื่องมือสร้างการเรียนรู้เท่าทันในกลุ่มเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ มะโนรมย์และวัชรี ศรีคำ. (2559). เครือข่ายและองค์กรทางสังคมของคาสิโนข้ามแดนระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อีสานล่างและนัยเชิงนโยบาย. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2556-Kanokwan-socnetwork.pdf (10 ธันวาคม 2560)
กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2560). การสังเคราะห์องค์ความรู้การวิจัยการพนันพื้นบ้าน. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file_new/Gambling_research_file_pdf_2017-03-21_14-19-43_number_.pdf (15 ธันวาคม 2560)
กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ และธีรโชติ ภูมิภมร. (2559). เยาวชนกับการพนัน: ปัจจัยเสี่ยง ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคม. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2559-Kanyanapha-Youth-and-riskfactors.pdf (15 ธันวาคม 2560)
กิติกร มีทรัพย์. ม.ป.ป. ความสุขจากการเล่นการพนัน. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต.
เครือข่ายเยาวชน 4 ภาค. (2556). การสำรวจสถานการณ์การพนันของเยาวชน 2556.
ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาการพนัน มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://icgp.thaissf.org/autopagev4/files/Rg36kERMon30535.pdf (11 ธันวาคม 2560)
จักรกริช สังขมณี. (2550). ชายแดนศึกษากับมานุษยวิทยาการค้าข้ามพรมแดน : บทสำรวจสถานภาพขอบเขตและการข้ามเส้นแดนของความรู้ ในเอกสารประกอบคำบรรยายการประชุม เรื่องการข้ามพรมแดนความรู้ศาสตร์ในการศึกษาสังคมไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.
หน้า 16-17. วันที่ 5-6 มกราคม 2550.
ชูชัย สินไชย. (2538). การบริหารทรัพยากรแบบไทยๆ. ยุทธโกษ. 93 (มิถุนายน–กรกฎาคม
2528: 103.
เดชา ตั้งสีฟ้า. (2549). อ่าน คู่มือราชการ เขียนพื้นที่วัฒนธรรม : วาทกรรมวัฒนธรรมของรัฐไทยกับพื้นที่ในระหว่างไทย-มาเลเซีย. แผ่นดินจินตนาการ. หน้า 306-307 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรารัตน์ วงศ์ธนะอเนก. (2559). การวิจัยเพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ต้นแบบเกี่ยวกับการพนันสำหรับเด็กในวัยเรียน. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2559-Teerarut.pdf (10 ธันวาคม 2560)
นวลน้อย ตรีรัตน์. (2539). การพนันฟุตบอล การเสี่ยงโชคของชนชั้นกลาง ในเศรษฐกิจนอก
กฎหมายและนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. รายงานการวิจัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์, ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์และการเมือง.
นวลน้อย ตรีรัตน์. (2559). ตลาดการพนันโลก : ผันผวนมากขึ้น. การพนันในยุคเปลี่ยนผ่าน รายงานประจำปี 2559 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
ปฤษฐา รัตนพฤกษ์. (2545). ปัญหาข้ามแดนและสภาวะไร้พรมแดน: โลกที่เปลี่ยนไปหรือมุมมอง
ของนักวิชาการที่เปลี่ยนไป? สังคมศาสตร์. 15 (1/2545), 17-46. คณะสังคมมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (2545). ข้ามพรมแดน กับคำถามเรื่องอัตลักษณ์ วัฒนธรรม พื้นที่และความเป็นชาติ. สังคมศาสตร์ (คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (2545)
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ และสุรสม กฤษณะจูฑะ. (2556). กระบวนการกลายเป็นนักพนันข้ามแดน กรณีศึกษาคนทัวร์ที่คาสิโนสะหวันเวกัส. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2556-Pinwadee-Sawanvegas.pdf (18 ธันวาคม 2560)
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2546).
ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคณะ. (2543). หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้าเศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ตัสวิน (ซิลค์เวอร์บุคส์).
ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคณะ. (2543). อุตสาหกรรมการพนัน. กรุงเทพฯ: โอเอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564
พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478.
ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. หน้า 49 กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
รัตน์ สนแก้ว. (2536). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการพนันในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดี
บาลี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ ปัญญาแก้ว. (2561). คาสิโนชายแดน. กรุงเทพ:โรงพิมพ์เดือนตุลา
วสันต์ ปัญญาแก้วและคณะ. (2559). ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก: ความเป็นชาย วัยรุ่น และวัฒนธรรมบริโภคนิยม. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2559-Wasan-Football-Thai-PremierLeague.pdf (18 ธันวาคม 2560)
วิศรุต ภู่ไหมทอง. (2558). สถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทย ประจำปี 2558 การพนันในยุคเปลี่ยนผ่าน รายงานประจาปี 2559 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) (2558). สถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทย ประจำปี 2558. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2558%20project%20SAB%20national%20survey.pdf
ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2559), การพนันในยุคเปลี่ยนผ่าน รายงานประจาปี 2559 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
สดใส สร่างโศรก และนนท์ พลางวัน. (2555). การพนันในบุญประเพณีบั้งไฟ. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2555-Sodsai-Bangfire.pdf (3 มกราคม 2561)
สดใส สร่างโศรก และนนท์ พลางวัน. (2556). บ่อนคาสิโน ช่องสะงำ-ช่องจร็อกเจือม อ.อัลลองเวง จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ส่งผลให้วิถีพนันของชาวบ้านในพื้นที่ต่อแดนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2556-Sodsai-casinoSangam.pdf (18 ธันวาคม 2560)
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำ รงราชานุภาพ. (2503). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 12.
เรื่อง ตำนานการเลิกอากรบ่อนเบี้ยและหวย. พระนคร: (อนุสรณ์ในงานชาปนกิจศพนายทองอยู่ พัฒ นพงศ์พานิช).
_______. (2504). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 17. พระนคร: โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน.
สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ. (2547). เศรษฐกิจการพนัน. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2539). เศรษฐกิจนอกกฎหมาย และนโยบายสาธารณะในประเทศไทย
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์, ศูนย์การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการพนันของวัยรุ่นในบริบทของสังคมไทยภาคอีสานพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหาร. รายงานวิจัย. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2559-Suphawadee-NE-youth-gambling.pdf (11 มกราคม 2561)
อเนก เธียรถาวร. (2511). ภาษีการพนัน. วารสาร ก.ต.ภ. 7. 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2511) : 66-67.


อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล และคณะ. (2559). การพนันแฝงในงานวัด : กระบวนการเปลี่ยนสภาพของกิจกรรมงานวัด และผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นพนันของเยาวชนไทย. รายงานวิจัย ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.gamblingstudy-th.org/imgadmins/research_file/2559-Ittipat-Buddisht-temple-festival-hidden-gambling.pdf. (11 มกราคม 2561)
อุบล สวัสดิ์ผล (2561). การพนันในมุมมองของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาบ้านไพรพัฒนา อำเภอไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ http://www.gamblingstudy-th.org/document_research/168/9/4/%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99/
อุบล สวัสดิ์ผล (2561). ธุรกิจการพนันข้ามพรมแดนในมุมมองเด็กชายแดนไทย-กัมพูชา. รายงานศูนย์
ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2561. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย