การสืบสวนพัฒนาการภูมิศสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการค้าจากบันทึก เอกสารของหลวงจีนอี้จิง และราชทูตเสี่ยงจุ่นเพื่อรองรับเส้นทาง การท่องเที่ยว: ภาพสะท้อนอำภอเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ พื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย

Main Article Content

Nuanla-ong Sippanan

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง: การสื่อความหมายวิวัฒนาการ
ของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "สยาม-ละโว้ และศรีวิชัย" เพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
การสืบสวนพัฒนาการภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการค้าจากบันทึกเอกสารของ
หลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นเพื่อรองรับส้นทางการท่องเที่ยว โดยสะท้อนสะท้อน
การเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และพื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นโดยนำมา
เปรียบเทียบกับร่องรอยหลักฐานอื่นๆ ซึ่งกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์ คือ
การเชื่อมโยงกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ตั้งแต่ยุคศรีวิชัย เพื่อพิสูจน์ว่าไชยาเป็นเมือง
หลวงของศรีวิชัย กระบวนการศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นแบบเชิงคุณภาพจาก
การสำรวจและสังเกตการณ์ในภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยทำการสืบค้นหาข้อมูลและเก็บ
ข้อมูลจากการถ่ายภาพและการทำแผนที่ร่วมกับการศึกษาวรรณกรรมและ
การสัมภาษณ์เชิงลึกบริเวณรอบอ่าบ้านดอน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในอดีตศรีวิชัยเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธมหายานและศูนย์กลาง
การค้าระหว่างพ่อค้าจากจากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เส้นทางตะกั่วป่า-อ่าวบ้าน
ดอนถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสะดวกที่สุดจึงเป็นที่นิยมในการเดินทางของ
นักเดินทางบนเส้นทางข้ามทวีปตั้งแต่ยุคก่อนศรีวิชัย การสืบสวนพัฒนาการ
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการดจากบันทึกเอกสารของหลวงจีนอี้จิง และราชทูต
เสี่ยงจุ่น ทำให้สามารถสรุปได้ว่าที่ตั้งของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ
พื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนเคยเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยและเหมาะสำหรับ
เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลโดยควบคุมการค้าของพ่อคชาวอินเดีย จีน อาหรับ
และเปอร์เซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การสื่อความหมายของมรดกเพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์
และการพัฒนามรดกของชาติอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Nuanla-ong Sippanan

A Lecturer in International College, Silpakorn University.

References

Nuanla-ong, Sippanan. (2010). Srivijaya Influence and Hidden
Heritage around Ban Don Bay: Cultural Landscape
associated with Cultural Tourism. Ph.D Program: Architectural
Heritage Management and Tourism. Faculty of Architecture.
Silpakorn University. Bangkok: Silpakorn University.
Nuanla-ong, Sippanan. (2014). "Shie To Kok" Pratad Dindaang
Tonchoa Arayadham Srivijaya Nai Lummaanamluang
(Maanam Tapee) (Laem 1) ("Shie To Kok" Country of Red
Soil (Laterite) the Root of Srivijayan Flourishing Culture in
Luang Basin (Tapee Basin) (D)). Silpakorn University
International College. Nakonpatom: Printing of Silpakorn
University.
Nuanla-ong, Sippanan. (2015). "Antique Chinese Bell" in Chaiya around
Ban Don Bay related to "Shie To Kua - Root of Srivijaya":
Heritage Interpretation for Historical and Cultural Tourism" is
a part of "The relationship between Chinese and Siamese
Dynasties:"Chinese Antique Bell" Interpretation", dealing
with one of the landmark traces of "Shie To Kua" (Srivijaya)
around Ban Don Bay associated with historical and cultural
tourism""International Conference The 3rd SUIC: the
Trend of Global Business in the New Digital Era". Novotel
Bangkok Hotel. Nakonpatom: Printing of Silpakorn University.
Panich, Dhammadasa. (1995). Siladham lae Vatthanadham Srivijaya:
Pravatisas Thai Samai Srivijaya (Morality and Culture of
Srivijayan people: Thai History in Srivijayan Age), ed. Vol. I.
Surat Thani: Arunvitaya Printing and Dhammatan Foundation.
Thammathikul, Sanphet (Police Lieutenant Colonel). (2010). Kvam Jring
Ti MaimeeKrai Roo Reang Jakkavat Suwannabhumi(The
True of Suwannabhumi). Bangkok.
Venerable Buddhadasa. (1997). Naaw Sang Khap Borannakhadee Rob
Aow Ban Don (Archaeological Landscape around Ban Don
Bay), ed. Vol.II. Surat Thani: Wat Phra Borom Mathat Chaiya.
Venerable Buddhadasa. (1997). Wa Duai Dindan Rob Aou Bandon Nai
Samai Srivijaya Naaw Sang Khap Borannakhadee Rob Auo
Bandon (Archaeological Landscape around Ban Don Bay).
ed. Vol.Ill. Surat Thani: Wat Phra Borom Mathat Chaiya.