ศักยภาพและแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยการ มีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อัญนวียา ภัชร์จรินห์ญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพในการรองรับ
การจัดการการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการ
การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น พื้นที่เขต
อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research)โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากประชากร คือ ผู้ที่
อาศัย และผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในขตพื้นที่อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้ให้ข้อมูลผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) และแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รู้, กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคล
ทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น 50 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้วิธีการพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า เขตพื้นที่วิจัยยังประสบปัญหาในเรื่องศักยภาพด้าน
สิ่งอำนวยความสะดวก ศักยภาพด้านการบริการ ศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน
ศักยภาพด้านการตลาด ศักยภาพด้านความปลอดภัย แนวทางที่เหมาะสมเพื่อ
แก้ปัญหาดังกล่าว คือ แสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น
ผู้ประกอบการต้องสร้างความข้มแข็งให้กับชุมชนโดยการศึกษาดูงาน และสอบถาม
ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวใน
ลักษณะเดียวกันในสถานที่อื่น ๆ ต่อไป เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน
การท่องเที่ยวได้นำไปปรับปรุงด้านบริการที่พัก ด้านความสะอาด ด้านการอำนวย
ความสะดวกและปลอดภัย โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และอำนวย
ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวตลอดเวลา และจัดให้มีร้านคจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า
ชุมชนให้เลือกซื้อ นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนควรให้งบประมาณสนับสนุน
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้มีศักยภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนมาก
ที่สุด โดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางใน
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเหมาะสมกับทรัพยากรท้องถิ่น และสอดคล้อง
กับความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อัญนวียา ภัชร์จรินห์ญา

อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยว มกราคม -
ธันวาคม 2556. กรุงเทพ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ชาย โพธิ์สิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม:
สถาบันวิจัยประชากร และ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
พจนา สวนศรี. (2547) คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการ
ท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธุรรมชาติ.
วิชสุดา ร้อยพิลา และปรีดา ไชยา (2559) "องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มี
ผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์." วารสารวิจัย
และพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์, 10 (3), หน้า 1-2.
หทัยชนก ฉิมบ้านไร่ และรักษ์พงศ์ วงศาโรจน (2558). "ศักยภาพอาหารพื้นเมือง
และแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน. "
วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11 (1), หน้า 1-2.
ล้วน สายยศและ อังคณา สายยศ (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้ง
ที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ (2547). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลที่เกิดขึ้น
จากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ ตำบลแม่แรม
อำเภอแม้ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Cohen, J. M. and Uphoff, N.T. (1980). "Participations Place in Rural
Development : Seeking Clarity through Specificity." World
Development, 8 : 213-235.
Mitz, Robyn. (2006). "Eye-movement representation in the frontal lobe
of rhesus monkeys," Neurosci Lett.