การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านอุปทานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การเรียนรู้ เกี่ยวกับอาหารไทยสำหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active Beach เพื่อรองรับ การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

อนุชา เพียรชนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของอาหารไทยประจำถิ่น
ผลิตภัณฑ์ และแนวทางในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ตลอดจนศักยภาพทางการตลาด
พฤติกรรมการบริโภคและความสนใจที่เกี่ยวกับการเรียนรู้อาหารไทยของ
นักท่องเที่ยว รวมถึงสมรรถนะศักยภาพของทุนมนุษย์ในการบริหารจัดการด้าน
อุปทาน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทย
นโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับ
การท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยสำหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active
Beach โดยได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามและการวิจัยเชิง
คุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) กลุ่มสามภาคี ได้แก่ ผู้แทนจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชน 2 กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ 3) กลุ่มผู้นำชุมชน
และปราชญ์ชาวบ้าน 4) ผู้ประกอบการ พื้นที่ที่ทำการศึกษาคือจังหวัดกลุ่มท่องเที่ยว
Active Beach ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัด
จันทบุรี และจังหวัดตราด การเก็บรวบรวมข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้ 1) การเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากกลุ่มสามภาคี นักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติ กลุ่มผู้นำชุมชนและ
ปราชญ์ชาวบ้าน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไทยใน
ท้องถิ่นภาคเอกชน และ 3) จัดการประชุมสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องต่อการจัดทำร่างการพัฒนารูปแบบและจัดทำแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจการเกี่ยวกับอาหารไทยประจำถิ่น
ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของอาหารไทยประจำถิ่นในกลุ่มท่องเที่ยว
Active Beach มีจำนวน 80 รายการ แบ่งเป็นประเภทอาหารคาวจำนวน 73
รายการ และอาหารหวานจำนวน 7 รายการ ด้านผลิตภัณฑ์อาหารไทยประจำถิ่นที่
ได้รับความนิยมมากที่สุดจากนักท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา คือ ยำ ได้รับความนิยม
คิดเป็นร้อยละ 66.09 รองลงมาคือ ตั้มยำกุ้ง คิดเป็นร้อยละ 61.01 อันตับ 3 สมตำ
คิดเป็นร้อยละ 59.32 อันดับ 4 ผัดไทย คิดเป็นร้อยละ 40.68 อันตับ 5 ปลาทอด
น้ำปลา (ปลากะพง,ปลาเก) คิดเป็นร้อยละ 30.50 และอันดับที่ 6ลาบ (ไก่,หมู,
ทะเล), คิดเป็นร้อยละ 22.03
การส่งเสริมศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทย
ประจำถิ่นดำเนินการได้โดยการจัดจำหน่ายสินด้ตามงานถนนคนเดิน การจัดงาน
เทศกาลอาหาร พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 54 ให้ความสนใจ เพราะเป็น
การรวบรวมความหลากหลายของอาหารมาไว้ที่เดียว เป็นการอำนวยความสะดวกใน
การซื้ออาหารท้องถิ่นมาบริโภค โดยมีการรวมแพ็คเกจการทำอาหารร่วมกับบริษัท
นำเที่ยวโดยร้านอาหารที่อยู่ในพื้นที่ 4 จังหวัดจะต้องเตรียมวัตถุดิบเกี่ยวกับ
การทำอาหารไว้ให้นักท่องเที่ยวทดลองทำอาหารเอง ทำให้นักท่องเที่ยวเกิด
การเรียนรู้การทำอาหารไทยมากยิ่งขึ้น
พฤติกรรมการบริโภคและความสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้อาหารไทยของ
นักท่องเที่ยวจากการสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติมีพฤติกรรมการบริโภค
อาหารคือ การเลือกร้านอาหารนักท่องเที่ยวร้อยละ 41.67 เลือกร้านอาหารเอง
การรับประทานอาหารนักท่องเที่ยวร้อยละ 40 เลือกรับประทานอาหารไทย ได้แก่ ยำ
, ตั้มยำง, สัมตำ, ผัดไทย, ปลาทอดน้ำปล(ปลากะพ,ปลาเก) และลาบ (ไก่,หมู,
ทะเล), การเลือกร้านอาหารนักท่องเที่ยวร้อยละ 53.33 เลือกจากความสะอาดและ
บรรยากาศของร้น นักท่องเที่ยวร้อยละ 50.83 ประทับใจในรสชาติอาหาร, คุณภาพ
ของอาหาร และความหลากหลายของอาหาร
นโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
กับการท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยสำหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active
Beach โดยมีนโยบายคือ การพัฒนาทุนมนุษย์ด้านอุปทาน เพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว การเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยสำหรับกลุ่มท่องเที่ยว Active Beach เพื่อ
รองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 2 คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1
พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอาหารและระบบมาตรฐานความปลอดภัยทาง
อาหาร ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์และ 12 แผนงาน ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนา
ทุนมนุษย์ด้านอุปทานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารไทยสำหรับ
กลุ่มท่องเที่ยว Active Beach เพื่อรองรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1 กลยุทธ์และ 3 แผนงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อนุชา เพียรชนะ

อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2339). คู่มือแนวทางการจัตการที่พักสัมผัส
วัฒนธรรมชนบท. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ฉอ้าน วุฒิกรรมศึกษา. (2526). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเข้ามามี
ส่วนร่วมของประชาชน ในโครงสร้างในชนบทะ ศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการที่ได้รับรางวัลดีเด่นของตำบลตีเด่นของ ตำบลกุ้งพยอม อำเภอ
บ้านโป้ง จังหวัตราชบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนัย เที่ยนพุฒ. (2551). การพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์. [ออนไลน์!. สืบคันไต้จาก
http://www.dntnet.com. วันที่ 20 มีนาคม 2551.
ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. (2548). การพัฒนาศักยภาพของอาหารไทยเพื่อส่งเสริม
การท่องเที่ยว. กรุงเทพๆ: ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2547) รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพ
ของอาหารไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว.กรุงเทพๆ: มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
. (2548). การพัฒนาศักยภาพของอาหารไทยเพื่อส่งเสริม
การท่องเที่ยว = The development of Thai food potential for
promoting tourism industy. กรุงเทพฯ มหาวิทยาสัยรามคำแหง.
นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์. (2543). แนวทางการสร้งอาหารไทยเป็นอาหารโลก
ในสิบปีข้างหน. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: เพรสแอนต์
ดีไซน์.
ภราเตช พยัดวิเชียร. (2539). "ความสามารถในการองรับ (Carying Capacity)
เพดานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องให้ความสำคัญในปัจจุบัน". จุลสาร
การท่องเที่ยว. มษายน-มิถุนายน.
มธุรส ปราบไพรี. (2543) ศักยภาพของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว:
กรณีชุมชนไทยทรงคำ บนเขาย้อย ตำบลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณพร วณิชชานุกร. (2540). การทองเที่ยวเชิงอนรัษ. กรุงเทพฯ: ทรรปณศิลป.
(อัดสำเนา)
ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล. (2540). "การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน".
จุลสารการท่องเที่ยว. (ม.ค. -มีค): หน้า 12 - 15.