การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยว วิถีอีสานใต้

Main Article Content

สุวภัทร ศรีจองแสง
วรารัตน์ บุญแฝง
สีริรัตน์ ชอบขาย
เขมจิรา หนองเป็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รวบรวมทรัพยากรการท่องเที่ยวที่
เป็นอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ (2) ศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์ทาง
การท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ของนักท่องเที่ยว (3) ประเมินศักยภาพของทรัพยากร
ทางการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์วิถีอีสานใต้ที่เอื้อต่อการพัฒนากิจกรรม
การท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ (4) พัฒนาแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงวิถี่อีสานใต้
ที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ โดยใช้แนวคิดทางการท่องเที่ยว
ประกอบด้วยแนวคิดหลัก (Core Concept) ได้แก่ แนวคิดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
และแนวคิดเส้นทางการท่องเที่ยว รวมถึงการใช้แนวคิดเสริม (Supporting
concepts) ได้แก่ แนวคิดคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม แนวคิดการท่องเที่ยวเชิง
สร้างสร้างสรรค์ และแนวคิดศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว
โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิง
คุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย
ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐบาลในพื้นที่ 5 จังหวัดในพื้นที่อีสานใต้ เช่น
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานท่องเที่ยวและ
กีฬาจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของทรัพยากรทาง
วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์วิถีอีสานใต้ทั้ง 5 จังหวัดในพื้นที่อีสานใต้ นักท่องเที่ยว
ชาวไทยและชาวต่างชาติ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่อีสานใต้มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์
ทางการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
และทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถจำแนกทรัพยากรทาง
วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของอีสานใต้ได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ (1)
สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน (2) งานศิลปหัตถกรรม (3) ศาสนา ศรัทธา และ
ความเชื่อ (4)วิถีชีวิตและเครื่องแต่งกาย (5) อาหารท้องถิ่น (6) เทศกาลและงาน
ประเพณี(7) ภาษาท้องถิ่น และ (8) อัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่
เอื้อต่อการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว
จากการจำแนกทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยว
ของอีสานไต้ทั้ง8 ต้านข้างตัน การรับรู้อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานไต้ของ
นักท่องเที่ยวชาวไทย ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยรับรู้อัตลักษณ์ทาง
การท่องเที่ยวที่เป็นแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวอีสานไต้ ซึ่งสามารถ
เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังต่อไปนี้ (1) อัตลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและ
โบราณสถาน (2)อัตลักษณ์ด้านศิลปหัตถกรรม (3)อัตลักษณ์ทาง
ทรัพยากรธรรมชาติ (4) อัตลักษณ์ทางศาสนา ศรัทธา และความเชื่อ (5) อัตลักษณ์
ด้านประเพณีวัฒนธรรมและเทศกาล (6) อัตลักษณ์ด้านอาหารท้องถิ่น (7) อัตลักษณ์
ด้านวิถีชีวิตและการแต่งกาย และ (8) อัตลักษณ์ด้านภาษาท้องถิ่น ในส่วนของ
การรับรู้อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรับรู้อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวที่เป็น
แรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวอีสานใต้ ซึ่งสามารถเรียงลำดับจากมากไปหา
น้อยได้ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณ์ค้นวิถีชีวิตและการแต่งกาย (2) อัตลักษณ์ทางอาหาร
ท้องถิ่น (3) อัตลักษณ์ด้านศิลปหัตถกรร () อัตลักษณ์ด้านประเพณีวัฒนธรรมและ
เทศกาล (5) อัตลักษณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ (6) อัตลักษณ์ทาง ศาสนา ศรัทธา
และความเชื่อ (7) อัตลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมและโบราณสถาน และ (8) อัตลักษณ์
ทางภาษาท้องถิ่น
ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อศักยภาพของทรัพยากร
ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งจำแนกผลการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน
ประกอบด้วย (1) ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยว (2) ศักยภาพด้านกิจกรรมทาง
การท่องเที่ยว (3) ศักยภาพด้นที่พัก (4) ศักยภาพด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
และ (5) ศักยภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว โดยผลการศึกษุา
พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อศักยภาพทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสาน
ใต้ในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้าน ค่าเฉลี่ยรวม 3.31 ในส่วนของความคิดเห็นของ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อศักยภาพของทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความคิดเห็นต่อศักยภาพทางการ
ท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้ในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้านเช่นเดียวกันกับนักท่องเที่ยว
ชาวไทย ค่าเฉลี่ยรวม 3.10
ผลการประเมินศักยภาพของทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้
ทำให้พบว่า กลุ่มอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานใต้ที่มีศักยภาพทาง
การท่องเที่ยวประกอบด้วย (1) อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวด้านสถาปัตยกรรมและ
โบราณสถาน (2) ด้านศิลปหัตถกรรม (3) ด้านศาสนา ศรัทธา และความเชื่อ (4)
ด้านวิถีชีวิตและการแต่งกาย (5) ด้านประเพณีวัฒนธรรมและเทศกาล และ (6)ด้าน
ธรรมชาติ ส่วนกลุ่มอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยววิถีอีสานไต้ที่ยังขาดศักยภาพทาง
การท่องเที่ยวประกอบด้วย (1) อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวด้านอาหารท้องถิ่น และ
(2) ด้านภาษาท้องถิ่น
ดังนั้น จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย
และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรวมถึงศักยภาพทางการท่องเที่ยวของอีสานใต้
คณะผู้วิจัยสามารถออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงวิถีอีสานใต้บนฐาน
อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานใต้และเชื่อมโยง
กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ
ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยแบ่งเส้นทางออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ เส้นทาง
การท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย และเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย
ประกอบด้วยเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย (1) เส้นทาง
ท่องเที่ยวดื่มด่ำธรรมชาติเขาใหญ่ ตระการตาสินค้าพื้นถิ่น เรียนรู้ฟาร์มเกษตร
สร้างสรรค์ สักการะพระเกจิอาจารย์ดังอีสานใต้ (2) เส้นทางท่องเที่ยว ไหม สายบุญ
เทศกาลเข้าพรรษา และ (3) เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หัตถกรรม ชาติพันธุ์ถิ่น
อีสานใต้ สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ประกอบด้วยเส้นทางการท่องเที่ยว จำนวน 4 เส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติ ประกอบด้วย (1) เส้นทางท่องเที่ยว ชายแดน 2 แผ่นดิน (2) เส้นทาง
ท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงลาวใต้ (3) เส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ภูมิปัญญา
ผ้าพื้นถิ่น และ (4) เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ วิถีชีวิตลุ่มน้ำมูน ภูมิปัญญา
หัตถกรรมอีสานใต้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุวภัทร ศรีจองแสง

อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย

วรารัตน์ บุญแฝง

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการโรงแรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สีริรัตน์ ชอบขาย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการโรงแรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย

เขมจิรา หนองเป็ด

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

กิตติฤกษ์ ปิตาทะสังข์ และ ดชากฤษ เหลี่ยมไรสง. (2556) การศึกษาอัตลักษณ์ของ
สี่กลุ่มชาติพ้นธุ์ในอีสานใต้ เพื่อออกแบบการ์ตูนสำหรับสื่อ
ประชาสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม. รายงานการค้นคว้าแบบอึสระ หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เกศรา สุกเพชร และ วารัชต์ มัธยมบุรุษ.(ม.ป.ป). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว
เพื่อการเรียนรู้อย่งมีส่วนร่วมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษา
พื้นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่มาะและชุมชนรอบจังหวัดลำปาง. รายงาน
การค้นคว้าแบบสระ กลุ่มการวิจัยท่องเที่ยวยั่งยืน. พะเยาวิจัย 1.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็น "ไท"
กรุงเทพฯ: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องการศึกษา
ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท.
ทรงคุณ จันทจร และคณะ. (2552). คุณค่อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการ
นำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลคำทางเศรษฐกิจและการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ
ภาคใต้. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549) การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
กรุงเทพฯ: เพรสแอนต์ดีไชน์.
บัญชา นาดทอง และคณะ. (2550) ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
อีสานใต้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา.รายงาน
การค้นคว้แบบอิสระ.
สมาพร คล้ายวิเซียร และคณะ. (2550) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้าน
ช้างในอีสานใต้. รายงานการค้นคว้แบบอิสระ. สนับสนุนโดยสำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2558). สถิติการเดินทางเข้าออกชาวต่างชาติ. ระบบ
ออนไลน์. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 15 กรกฎาคม 2560.
https://www.immigration.go.th/immigration_stats
ICOMOS Australia. (1999). The Burra Charter: The Australia ICOMOS
Charter for Places of Cultural Significance. Australia: ICOMOS
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In
Wurzburger, Rebecca, et al. Creative Tourism:A Global
Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for
Travelers Worldwide. Santa Fe: Sunstone Press.