"รัฐ" และ "ชาติพันธุ์": กระบวนทัศน์การจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติ พันธุ์โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ภายใต้บริบทสังคมเวียดนาม

Main Article Content

ปียะกษิดิ์เดช เปลือยศรี
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข

บทคัดย่อ

ในบริบทสังคมเวียดนาม ทุนธรรมชาติและทุนวัฒนธรรม กลายเป็นทุน
สำคัญทางการท่องเที่ยวในฐานะฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับ
มาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนในชาติ เนื่องจากทุนดังกล่าวก่อให้เกิดกิจกรรม
การท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศและคนในชาติ
โดยเฉพาะรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสร้างอาชีพ
รายได้ และนำพากลุ่มชาติพันธุ์เข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว
และการจัดการท่องเที่ยวร่วมกับรัฐมากขึ้น ดังเห็นได้จากการกลายเป็นผู้ประกอบการ
ท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขาวบ้านปอมกอง เมืองมายเจิว จังหวัดฮวาบิ่งห์
ทั้งนี้ บทความฉบับนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาบทบาทของรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์ใน
การจัดการท่องเที่ยวโดยเฉพาะแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์โดยชุมชน
สร้างสรรค์ กระบวนทัศน์การจัดการท่องเที่ยวของรัฐ และกระบวนการจัดการ
ท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์โดยชุมชนเชิงของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขาว โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร
เป็นหลัก อาทิ หนังสือ งานวิจัยวิทยานิพนธ์ และบทความวิชาการทั้งฉบับภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ และภาษาเวียดนาม นอกจากนี้ยังใช้วิธีการสำรวจและสังเกตการณ์
ในพื้นที่ภาคสนามควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการด้วย
ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เป็น
แนวคิดการท่องเที่ยวที่มุ่งสร้างความผูกพันระหว่างนักท่องเที่ยวกับเจ้าของแหล่ง
ท่องเที่ยว ผ่านการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมแบบคนพื้นเมืองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ โดยแนวคิดดังกล่าวคือกระบวนทัศน์ในการจัดการ
ท่องเที่ยว ที่รัฐนำมาใช้ในฐานะกลไกการขจัดความยากจนให้กับคนในชาติ อีกทั้ง
เป็นเครื่องมือในการรงวัฒนธรรมของชาติด้วย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวรัฐไม่ได้เป็น
ผู้ผูกขาดการบริหารจัดการ ในทางกลับกันรัฐเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมโดยให้กลุ่ม
ชาติพันธุ์บริหารจัดการการท่องเที่ยว ประเมินขีดความสามารถ และกำหนด
ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

ปียะกษิดิ์เดช เปลือยศรี

นิสิตบัณฑิตศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข

อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540) การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุณยสฤษฏ์ อเนกสุข. (2557). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคุมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
-. (2557). ยล เยี่ยม เยือน เหยะ แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรมินท์ จารุวร. (2559). คติชนกับการท่องเที่ยวะ หมู่บ้านวัฒนธรมหนองขาว
จังหวัดกาญจนบุรี.กรุงเทพๆ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทิดชาย ช่วยบำรุง.(2558). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. ใน
หนังสือ ปาฐกถา "การท่องเที่ยวไทยในศตวรรษที่ ๒ด" จิราธร ชาติศิริ
(บรรณาธิการ). โครงการจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
หน่วยบริการวิชาการ งานวิชาการ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ,
296-346.
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552). ข้อมูลประเทศ
เวียดนาม (Vietnam Country Profile). กรุงเทพๆ:สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และธีระสินเดชารักษ์.
(2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). องค์การ
บริการการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ
มหาชน) ร่วมกับ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การบริการการพัฒนาพื้นที่พิเศษ
เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
ภาษาต่างประเทศ
Achariya Choowonglert. ( 2012). Negotiating authenticity: cultural
economy of the ethnic tourist market in White Tai Villages,
Northwest Upland of Vietnam. Doctor of Philosophy
Dissertation (Social Sciences), Chiang Mai University.
Bee, NG. (2008). Tourism and Economic Development in Vietnam.
(Unpublished master's thesis). University of Birmingham.
Bennett, Jonathan. ( n.d.). 'The Development of Private Tourism
Bussiness Activity in the Transitional Vietnamese Economy'. In
Tourism in Southeast Asia: Challenges and New Directions.
Michael Hitchcock, Victor T. King and Michael Parnwell (ed.).
Copenhagen: NIAS Press.
Graburn, Nelson H.H. (1989). The Scared journey. In Valene L. Smith (2"d
ed,) Hosts and Guests: the Anthropology of Tourism, pp. 21-
36. U.S.A.: The University of Pennsylvania.
Hobson, P. J., Heung, V., & Chon, K. S. (1994). Vietnam's tourism
industry: Can it be kept afloat? Cornell Hotel and Restaurant
Administration Quarterly, 35(5): 42-48.
Mcintosh, R, & Goeldner, C. (1990). Tourism Principle: Practices and
Philosophies. 5ted. New York: John Wiley & Sons, Inc..,
Mok, C. & Lam, T. (1997). Hotel and tourism development in Vietnam.
Journal of Travel and Tourism Marketing, 7(1), 85-91.
Ng, Bee Chin. (2008). Tourism & Economic Development in Vietnam.
Mphil Dissertation on Asian Studies (Research), University of
Birmingham.
Sieu, Ha Van. (2012). Country Presentation: Vietnam Tourism Master
Plan to 2020. 6th UNWTO Asia-Pacific Executive Training on
Tourism Policy and Strategy, Bhutan 25-28 June 2012.
Mimeographed.
Smith, V. (1978). Hosts and Guests: The Anthropology of Tourism.
Oxford: Blackwell.
Thanh, T. D. (2005). Introduction to tourism (4th ed.). Hanoi: VNU.
Tran, N. T, & Reid, A. (2006). 'Viet Nam: Borderless Histories'. Asian
Folklore Studies Vol. 66, No. 1/2, Narratives and Rituals in
Asian Folk Religion and Culture. Nanzan University.
V. Dao Truong. (2013). Tourism Policy development in Vietnam: A pro-
poor perspective. Journal of Policy Research in Tourism,
Leisure and Events, 5(1), 28-45.
Vietnam News Agency Publishing House. (2014). 54 Ethnic Group in
Vietnam. Hanoi: Vietnam News Agency Publishing House.
Weiler, B. (1984). Ethnic Tourism, the State and Cultural Change in
Southeast Africa. Colin Michael Hall, (eds.) Annals of Tourism
Research 11(3).
World Bank. (n.d.). Vietnam GDP 1985-2017. (Searched on October, 28,
2017, Retrieve from http:/www.tradingeconomics.com/vietnam/gdp
Artha Nantachukra. (1998). Cac Gia Tri Van Hoa Vat Chat Cua Ngusi
Thai O Mien Nui Nghe An. Luan An Tien SI Sน้ Hoc, Dai Hoc
Quoc Gia Ha NOi, Truong Dai Hoc Khoa Hoc Xa HOi Va Nhan
Van: Ha NOi.
Le Thi Van Anh. (2010). Phat Trien Du Lich Cong Dong Tai Ban Ang 2
xa Dong Sang Huyen MOc Chau. Khoa Quan Ly Truong Dai
Hoc Van Hoa Ha Noi.
Nguyen Thu Thuy, D6 Thanh Huyen va Tran Thuy Linh. (2012). "Du lich
sang tao va kha nang ung dung o viet Nam". Ky yeu HOi thao:
Du lich, am thuc va cac van de quan ly, kinh doanh. USSH,
9/2012, 267-277.
Tong cuc Du lich. (2014). Chuc nang, nhiem vu, quyen han Tong cuc
Du lich. Lay tu: https://vietnam tourism.gov.vn/index.hp/items/8
Vo Thi Thang. (2005). Phat Trien Du Lich Viet Nam Trong Tinh Hinh
MGi. Dua Nghi quyet Dai hoi IX Dang vao cuoc song, Tap chi
Cong san, s6 5 (thang 3 nam 2005).