แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านอ้อมแก้ว ตำบลศรีสุข อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ทิพย์สุวรรณ แซ่ลี้
ปริวรรต สมนึก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการจัดการ
ท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านอ้อมแก้ว ตามแนวคิดองค์ประกอบการจัดการท่องเที่ยวโดย
ชุมชน และเพื่อสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
บ้านอ้อมแก้ว โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงซึ่งมีเกณฑ์ในการคัดเลือกประกอบด้วย
แกนนำชุมชนบ้านอ้อมแก้ว นักพัฒนาการท่องเที่ยว และปราชญ์ขุมชน ตลอดจน
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดแบบพรรณนา ผล
การศึกษาพบว่า
1. ชุมชนบ้านอ้อมแก้วเป็นชุมชนการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
ที่มีศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรนัก
ซึ่งเห็นได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในและภายนอกชุมชน ตลอดจนการ
วิเคราะห์ตามแนวคิดองค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนซึ่งได้แก่ (1)
การมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ไม่หลากหลาย โดยมีความโดดเด่นเฉพาะด้าน
ธรรมชาติ (2) การมีองค์กรกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนและการมีส่วนร่วมของกลุ่ม
อาชีพที่ยังไม่เข็มแข็งเท่าที่ควร (3) การมีการบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่
เข้มแข็ง การให้บริการนำเที่ยวของมัคคุเทศก็และบ้านพักโฮมสเตย์ที่ยังไม่เพียงพอ
การจำหน่ายสินค้ที่ระลึกที่ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ตลอดจนการมีสื่อ
ประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและ (4) การมีกระบวนการเรียนรู้ที่ยังไม่
เกิดการสร้างสรรค์และเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าของชุมชนบ้านอ้อมแก้วและ
นักท่องเที่ยวเท่าที่ควร
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้าน
อ้อมแก้วประกอบด้วย (1) การสร้างระบบการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การ
ชักชวนให้คนในชุมชนทั้งสามแห่งคือ บ้าน วัด และโรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการ
เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ
ดำเนินการวางแผน กำหนดแนวปฏิบัติ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการต่างๆ
เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ และ (2) การขอความร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็ง
ทางองค์ความรู้จากหน่วยงานต่งๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
ในจังหวัดสุรินทร์ที่มีประสบการณ์ในการจัดการท่องเที่ยว ในการจัดอบรมเชิง
ปฏิบัติการให้กับกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านอ้อมแก้ว ในด้านการบริหารจัดการ
ต่างๆ ของชุมชนให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

ทิพย์สุวรรณ แซ่ลี้

นักศึกษาหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปริวรรต สมนึก

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

References

กรมการท่องเที่ยว. (2559). สถิตินักท่องเที่ยว. [ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://
61.19.236.136:8090/dotr/statistic_compare.php สืบค้นเมื่อวันที่ 12
พฤศจิกายน พ.ศ. 2560.
กรมการผ่องเที่ยว. (2560). มาตรฐานการท่องเที่ยวที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
(HOMESTAY). [ออนไลน]แหล่งที่มา :
http://www.homestaythai.net/Homepages/ReadPage/2 สืบค้น
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2558). ข้อมูลการ
ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. (ม.ป.ท.).
นิศา ชัชกุล.(2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ :
เพรส แอนด์ ดีไชน์.
ปริวรรต สมนึก. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการ
จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนข้ามพื้นที่ระหว่างชุมชนบ้านทรายมูล และ
ชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี.
อุบลราชธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พจนา สวนศรี. (2546) คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการ
ท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
ศิรินั้นทน์ พงษ์นิรันคร, โอชัญญา บัวรรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559).
"แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว
จังหวัดนครราชสีมา". วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9.1 (มค. -มิ.ย.).
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2548) คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ
บ้านพักโฮมสเตย์. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่
ภาคเหนือ. โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว
และชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)สำนักงานภาค.
เซียงใหม่: วนิดา เพรส.
สถี เสริฐศรี.(2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
[ออนไลน์) แหล่งที่มา : http//ww.rfor.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 18
ธันวาคุม 2559.
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข. (2561). ข้อมูลชุมชนบ้านอ้อมแก้ว. [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.srisooksrinarong.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 16
มกราคม 2561.