การกลายเป็นสังคมเมืองสมัยใหม่ของฮานอย เมืองอาณานิคมฝรั่งเศส ค.ศ. 1897-1907

Main Article Content

มิตต ทรัพย์ผุด
สรพจน์ เสวนคุณากร
สุทธิพงศ์ เพิ่มพูน

บทคัดย่อ

ถึงแม้ว่าฮานอยจะไม่อยู่ในฐานะเมืองหลวงมาอย่าง
ต่อเนื่องโดยตลอด แต่ก็ถือว่าเป็นเมืองหลวงที่มีอายุยืนยาวมาก
มาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักร ค.ศ. 1010 จวบจนถึงสมัยสาธารณรัฐ
ในปัจจุบัน ประสบการณ์การเป็นเมืองหลวงอาณานิคมของอินโด
จีนแห่งฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1897-1907 เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก
ช่วงหนึ่งของฮานอยได้กลายเป็นสังคมเมืองแบบตะวันตกอย่าง
สมบูรณ์ รัฐบาลอินโดจีนแห่งฝรั่งเศสได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ภูมิทัศน์และก่อสร้างเมืองหลวงอาณานิคมทางด้านใดบ้าง การ
ปรับตัวสู่ความทันสมัยของฮานอยเป็นไปในลักษณะใด เกิดจาก
แรงจูงใจใด และเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองหลวงร่วมสมัยต่างๆ ใน
โลกนั้นฮานอยมีความแตกต่างอย่างไร ประเด็นปัญหาของ
บทความนี้คือการกลายเป็นสังคมเมืองของฮานอยในช่วงระยะแรก
ของการเป็นเมืองหลวงของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ.
1897-1907 มีลักษณะอย่างไร และเกิดจากปัจจัยใด
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกลายเป็นสังคม
เมืองของฮานอยในช่วงระยะแรกของการเป็นเมืองหลวงอาณานิคม
ฝรั่งเศสในคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่าง ค.ศ. 1897 -1907
ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1897-
1907 ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของฮานอยที่ได้
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ทั้งทางด้านผังเมือง
อาคารสิ่งก่อสร้าง รวมถึงระบบสาธารณูปโภค อาทิ ถนน
น้ำประปา ไฟฟ้า รถราง เป็นต้น ประการที่สอง แรงจูงใจของ
รัฐบาลอินโดจีนแห่งฝรั่งเศสทั้งในสมัยนายปอล ดูแมร์ และสมัย
นายปอล โบ มีความต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับ
การปรับตัวสู่ความทันสมัยของฮานอยและศักดิ์ศรีของอาณานิคม
ฝรั่งเศส อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การกลายเป็นสังคมเมืองของ
ฮานอยภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส
เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับช่วงเวลาการปรับตัวสู่ความทันสมัยของยุโรป
ดังนั้น ฮานอยจึงได้รับการก่อสร้างให้เป็นศูนย์กลางแห่งความ
ทันสมัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้าทาง
วิทยาการและเทคโนโลยีทุกแขนงของฝรั่งเศสในฐานะมหาอำนาจ
ของโลกทั้งทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมในตะวันออกไกล

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

มิตต ทรัพย์ผุด

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สรพจน์ เสวนคุณากร

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สุทธิพงศ์ เพิ่มพูน

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

Beau, Paul. 1908. Situation de l’Indo-Chine de 1902-
1907 Vol.I-II. Saigon: Imprimerie
commerciale Marcellin Rey.
Brocheux, Pierre and Daniel Hémery. 2009. Indochina:
An Ambiguous Colonization, 1858-1954.
English Trans. By Ly LanDill-Klein et al.
Berkeley: University of California Press. (French
version, eds. 1995 and 2001)
Brunschwig, Henri. 1960. Mythes et réalités de
l’impérialisme colonial français 1871-1914.
Paris : Armand Colin.
Doumer, Paul. 1902. Rapport sur la situation de
l’Indo-Chine française (1897-1901). Hanoi:
Schneider.
Gouvernement de la Cochinchine française. 1894.
Situation de l’Indo-chine française au
commencement de 1894. Hanoi: Schneider.
Huard, Pierre and Durand, Maurice. 1954. Connaissance
du Việt-Nam. Paris : Imprimerie nationale.
Leroy-Beaulieu, Paul. 1882. De la colonisation chez
les peuples modernes. Paris : Guillaumin.
(Title in Eng. translation: The Colonization of
the Modern Peoples)
Papin, Philippe. 1997. Des « villages dans la ville » aux
« villages urbaines » - l’espace et les formes du
pouvoir à Hà-Nội de 1805-1940. Thèse de
Doctorat d’Histoire, Unversité de Paris VII.
Papin, Philippe. 2001. Histoire d’Hanoï. Paris : Fayard.
(Coll. Histoire des grandes villes)
Papin, Philippe. 2013. Histoire des territoires de Hà-
Nôi : Quartiers, villages et sociétés urbaines
du XIXe au début du XXe siècle. Paris : Les
Indes savantes.
Pinol, Jean-Luc. 1991. Le monde des villes au XIXe
siècle. Paris : Hachette, 1991.
Pinol, Jean-Luc, ed. 1996. Atlas historique des villes
de France. Paris: Hachette et Centre de Cultura
Contemporània de Barcelona, 1996.
Sapphud, Samit. 2003. Les relations commerciales
entre la France, le Siam et le Cambodge
(1867-1907). Mémoire de Maîtrise en Histoire,
Université de Provence (Aix-Marseille I).