ความรักหรือเงินตรา : การแต่งงานข้ามชาติของหญิงลาวกับ ชายไทยในพื้นที่ชายแดน

Main Article Content

ดวงมณี นารีนุช

บทคัดย่อ

สถานการณ์ที่หญิงลาวแต่งงานหรืออยู่กินฉันสามีภรรยากับ
ชายไทยในหมู่บ้านตามแนวชายแดน ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และน่าจะ
เป็นปรากฏการณ์ที่มีพัฒนาการอย่างซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่เคยเป็นมา
ในอดีต ทั้งนี้ประเทศไทยยังขาดการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
อย่างลึกซึ้ง ส่งผลให้ไม่มีองค์ความรู้เพียงพอในการจัดระบบรองรับที่
ชัดเจน หรือการจัดระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อรองรับสถานการณ์ปัญหา
งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาให้เห็นรายละเอียดปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการ
แต่งงานข้ามชาติของหญิงลาวกับชายไทยในพื้นที่ชายแดนอย่างรอบด้าน
โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การศึกษาประวัติ
ชีวิต (Life history) ของผู้หญิงลาวที่แต่งงานกับชายไทยในพื้นที่ชายแดน
เขมราฐ จำนวน 9 คน ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ย้อนหลัง หรือผู้หญิงลาวที่
แต่งงานกับชายไทยในช่วงปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา และต้องแต่งงาน
ไม่น้อยกว่า 2 ปี ใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้เทคนิคบุคคลอ้างอิง
(reference person) มีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยยึด
หลักความหลากหลายของรูปแบบการแต่งงาน หรือการใช้ชีวิตครอบครัว
ของหญิงลาวกับชายไทย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
ผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย
ที่ทำให้หญิงลาวตัดสินใจแต่งงานกับชายไทย มี 2 ปัจจัย อันประกอบด้วย
ปัจจัยสำคัญและปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยสำคัญ คือ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมาก
ขึ้น ให้ได้ประกอบธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว ทั้งนี้เพราะหญิงลาวใน
สถานะคนต่างด้าวไม่สามารถประกอบธุรกิจใดๆ ได้ ดังนั้นจึงต้องการหา
ชายไทยเป็นสามีเพื่อจดทะเบียนประกอบธุรกิจให้กับหญิงลาว อีกทั้งยัง
ต้องการให้สามีเลี้ยงดู เนื่องจากสามีมีอาชีพมีธุรกิจมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อให้
มีชีวิตที่ดีตามแบบอย่างหญิงลาวแต่งงานกับชายไทย และปัจจัยด้าน
ความรักและความเป็นครอบครัว ปัจจัยสนับสนุนมี 4 ปัจจัย คือ
ทางเลือกในการประกอบอาชีพในประเทศไทยมีอย่างจำกัด และรายได้ที่
ได้รับจากการประกอบอาชีพไม่เพียงพอต่อความต้องการ การถูกตีตรา
จากสังคมของผู้หญิงที่ผ่านการมีครอบครัวมาแล้วเป็นผู้หญิงไม่ดี ปัจจัย
ความปลอดภัยในการอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย และเครือข่าย
การแต่งงานข้ามชาติ ซึ่งมีบทบาทเป็นบุคคลตัวอย่างความสำเร็จของ
การมีสามีเป็นคนไทย สนับสนุนให้เกิดการพบปะและสร้างความสัมพันธ์
กับชายไทย ดำรงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์และเป็นเพื่อนคู่คิดให้คำปรึกษา
ตลอดจนรับฟังความทุกข์ซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ดวงมณี นารีนุช

นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

เชญฐา พวงหัตถ์. (2548). โครงสร้าง-ผู้กระทำการ = Structure - agency.
กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
เนตรดาว เถาถวิล. (2549). เหยื่อหรือผู้กระทำการ: หญิงบริการชาวลาวใน
บริบทของอุตสาหกรรมทางเพศในไทย ใน วัฒนธรรมไร้อคติ
ชีวิตไร้ความรุนแรง. ดาริน อินทร์เหมือน, พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์,
วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ และวราภรณ์ เรืองศรี, บรรณาธิการ.
กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
บัวพันธ์ พรหมพักพิง และคณะ. (2548). การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของ
ผู้หญิงในชนบทอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัสสร ลิมานนท์. (2556). ประชากรและสังคม ในประชากรและสังคมใน
อาเซียน : ความท้าทายและโอกาส. สุชาดา ทวีสิทธิ์, มาลี สันภูวรรณ์
และศุทธิดา ชวนวัน, บรรณาธิการ. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากร
และสังคม สถาบันวิจัยประกรและสังคม.
รัตนา บุญมัธยะ. (2548). "ภรรยาฝรั่ง : ผู้หญิงอีสานกับการแต่งงานข้าม
วัฒนธรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านร้อยเอ็ดหรือหมู่บ้านสวิสในจังหวัด
ร้อยเอ็ด". วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 1(2).
วัชรี ศรีคำ. (2555). แรงงานลาวในอีสานกับการรับรู้โรคเอดส์. การประชุม
วิชาการระดับชาติมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
9 พฤศจิกายน 2555.