กระต่ายในวัฒนธรรมเขม
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับคนเขมรมาช้านาน เห็นได้จากภาพสลัก
ตามปราสาทหินและนิทานพื้นบ้านที่เล่าสู่กันฟัง คนเขมรชื่นชอบในความ
น่ารักของกระต่าย ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าปัญญา เมื่อเขมรรับ
ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธมาจากอินเดีย เขมรได้นำกระต่ายเข้าไป
ผสานกับความเชื่อในศาสนาสำคัญทั้งสองศาสนาด้วย อาทิ การพบรูป
กระต่ายในภาพสลักตอน “กูรมาวตาร” หรือตอนกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็น
เทพปกรณัมที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ โดยพบที่ปราสาทกู่สวนแตง
ประเทศไทย หรือการยกย่องชาดกในทางพระพุทธศาสนาเรื่อง
“สสปัณฑิตชาดก” ซึ่งเป็นชาดกที่สรรเสริญคุณธรรมของกระต่ายให้เป็น
ชาดกเรื่องสำคัญ จนกลายมาเป็นที่มาของประเพณีไหว้พระจันทร์ในเขมร
สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกระต่ายในวัฒนธรรม
เขมรได้เป็นอย่างดี
Article Details
บท
บทความวิชาการ
References
วิชชุกร ทองหล่อ. (2542). “กระต่ายในนิทานพื้นบ้านเขมร.” ใน ภาษา
จารึกฉบับที่ 6 คุรุบูชา คุรุรำลึก. 247– 253. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศานติ ภักดีคำ, ผู้แปล. (2550). พระราชพิธีทวาทศมาส หรือพระราช
พิธีสิบสองเดือนกรุงกัมพูชา ภาค 3. กรุงเทพฯ: กรมสารนิเทศ.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักร
ขอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จารึกฉบับที่ 6 คุรุบูชา คุรุรำลึก. 247– 253. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศานติ ภักดีคำ, ผู้แปล. (2550). พระราชพิธีทวาทศมาส หรือพระราช
พิธีสิบสองเดือนกรุงกัมพูชา ภาค 3. กรุงเทพฯ: กรมสารนิเทศ.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักร
ขอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.