ฆ้องปะเนาะ: ดนตรี พิธีกรรม ความเชื่อ ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ อาศัยบนที่ราบสูงในลาวตอนใต้

Main Article Content

พัน พงษ์ผล

บทคัดย่อ

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยบนที่ราบสูงในลาวตอนใต้ เป็นกลุ่ม
ชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติค และมีแหล่งที่อยู่อาศัย
กระจัดกระจายตามพื้นที่ราบสูงในลาวตอนใต้ของ สปป.ลาว มาอย่างช้า
นาน มีวิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่คล้ายคลึงกันมาก โดยมี
ความเชื่อในอำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนับถือผี
ที่เรียกว่า “ศาสนาผี” ดนตรีจึงมีบทบาทสำ คัญ ที่ถูกนำ มาใช้ใน
การประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เพื่อแสดงเจตจำนงหรือร้อง
ขออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพการดำ เนินชีวิต
กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ใช้ฆ้องที่ชื่อว่า “ปะเนาะ” (Flat Gong Percussion
Idiophones) เป็นฆ้องชนิดแบบไม่มีปุ่มทำจากโลหะสัมฤทธิ์ หรือภาษาลาว
เรียกว่า “ผะหาด” ภาษาไทยอีสานเรียกว่า “ผ่างฮาด” มีส่วนประกอบ 2
ส่วน คือ แผ่นฆ้องและไม้ตี มีเสียง 3 เสียง คือ เสียง “ผ่าง” เสียง “ถึก”
และ เสียง “ตึ๊ง” การบรรเลงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่ก็ยังคงยึดจังหวะเดิม
เป็นหลัก เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมสำคัญ อย่างเช่น พิธีฆ่าควายเลี้ยงผีหรือ
งานบุญกินควาย พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย การฟ้อนนักรบชนเผ่า ฯ
เพราะเชื่อว่าเสียงของฆ้องเป็นเสมือนเสียงสัญญาณที่สามารถติดต่อกับ
อำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติได้ และยังแสดงถึงอำนาจ เป็นของมีค่า
บ่งบอกถึงฐานะความมั่งคั่งของคนหรือกลุ่มคนที่ได้ครอบครองอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

พัน พงษ์ผล

อาจารย์ประจำหลักสูตรภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

กฤษฎา สุขสำเนียง. (2549). หมอลำสีพันดอน: กรณีศึกษาคณะทอง
บาง แก้วสุวัน เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมชนเผ่า. (2005). บันดาชนเผ่า ใน สปป. ลาว. เวียงจันทน์:
มันทาตุลาด.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ปราณี วงษ์เทศ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ:
ศิลปวัฒนธรรม.
พัน พงษ์ผล. (2551). ดนตรีกะตู้:แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
ดนตรีชาติพันธุ์วิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สิริรัตน์ ประพัฒน์ทอง. (2542). บทความ รากแก้วดนตรีไทย งานดนตรีไทย
อุดมศึกษา ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์
สุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้แปล, มหาสิลา วีระวงศ์ ผู้แต่ง. (2548). ท้าวฮุ่ง ท้าว
เจือง มหากาพย์แห่งอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2542). โครงการสารคดีลาวตอนล่าง. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอ โดนอาหล่า. 2552. นักดนตรีชนเผ่ากะตู้. สัมภาษณ์, 24-2.
เมษายน 2552.
มหาสิลา วีระวงส์. 2001. ประวัติศาสตร์ลาว แต่โบราณถึง 1946. เวียงจันทน์
สปป.ลาว: หอสมุดแห่งชาติ กระทรวงแถลงข่าวและ วัฒนธรรม.
คำเลื่อน สุลาวัน, ทองเพ็ด กิ่งสะดา และ Nancy A Castello. (1993).
นิทานพื้นเมืองและสังคมเผ่ากะตู้. เวียงจันทน์ สปป.ลาว:
โรงพิมพ์แห่งรัฐ.)