“ถ่งเมียเวาะ” พิธีกรรม ความเชื่อกะเหรี่ยงโปร์ บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท
ชุมชนและ พิธีกรรม ความเชื่อในระบบการเกษตรในกรณีการทำไร่ข้าว
บ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบ
วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ
กึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง พื้นที่ศึกษาคือ บ้านไร่ป้า หมู่ที่ 5 ตำบล
ห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ผลการวิจัยพบว่า “ถ่งเมียเวาะ” เป็นเรื่องของพิธีกรรมความเชื่อ
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งคุ้มครองตามธรรมชาติเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจน
ตาย เป็นทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าของชาวกะเหรี่ยงที่สอนให้ลูกหลานดูแล
ทรัพยากรธรรมชาติ ผืนป่า ลำห้วย สร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับชุมชน
รูปแบบการดำเนินชีวิตดังกล่าวส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
บ้านไร่ป้า พื้นที่แห่งนี้จัดเป็นพื้นที่ชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรีที่เป็น
น้องใหม่แห่งผืนดินตะวันตก โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปร์อาศัยอยู่
ดำเนินชีวิตโดยยึดกฎเกณฑ์ที่สัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรม ความเชื่อกับระบบ
เกษตรการทำไร่ข้าว สอดคล้องกับแนวคิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืนหรือ
เกษตรกรรมทางเลือก ที่ชุมชนสืบทอดมาอย่างยาวนานเป็นการสร้าง
ความยืดหยุ่น ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงของยุค
สมัย ที่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะระดับครัวเรือนของ
ชุมชนแห่งนี้ได้อย่างยั่งยืน
Article Details
References
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2557). การสืบสานวัฒนธรรมการกินกะเหรี่ยงโปร์
บ้านทิพุเย. ใน วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
3 (2). 79 – 88.
ปิยนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชนบท: ศึกษา
เฉพาะกรณีบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลสวก อำเภอน่าน จังหวัด
น่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วราพร ศรีสุพรรณ และคณะ. (2549). เครือข่ายการเรียนรูวัฒนธรรม
ข้าวไร่เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและอนุรักษ์ความหลากหลาย
ทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำ แควใหญ่. นครปฐม: คณะ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ. (2545). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิถีการ
ผลิต และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติชายหญิงของ
ชุมชนกะเหรี่ยง: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบล
ชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. สาขาวิชาการ
พัฒนาชุมชน ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศยามล เจริญรัตน์. (2556). ความมั่นคงทางอาหาร ป่าชุมชนกับการ
ผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่น. ประชุมวิชาการ
ประจำปี 57: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย รักษาชาติ. (2545). ความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน
ของคนชายขอบ: รูปแบบการบริโภคและแหล่งที่มาของอาหาร
ของครัวเรือนภาคตะวันตกประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อม
เพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
โสฬส ศิริไสย์. (2551). โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและความ
หลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร
และโภชนาการในประชากรกลุ่มชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง. (2557). แผนพัฒนาองค์การบริหาร
ส่วนตำบลห้วยเขย่ง. กาญจนบุรี : กาญจนบุรี.