โลกทัศน์ที่สะท้อนจากสำนวนอีสาน

Main Article Content

คนึงชัย วิริยะสุนทร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ที่ปรากฏในสำนวนภาษาไทยอีสานโดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และงานวิจัย รวมจำนวนข้อมูลสำนวนไทยอีสานทั้งหมด 890 สำนวน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโลกทัศน์ของคนอีสานที่สะท้อนจากสำนวนอีสาน โดยศึกษาว่าคนอีสานมีโลกทัศน์ต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร ผู้วิจัยได้นำแนวทางการศึกษาโลกทัศน์ของนักวิชาการท่านต่างๆ มาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสำนวนอีสานที่รวบรวมได้ทั้งหมด จากการศึกษาพบว่าสำนวนอีสานได้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของคนอีสานเกี่ยวกับบุคคลในฐานะปัจเจกชน ดังนี้ 1. โลกทัศน์ที่มีต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โลกทัศน์ที่มีต่อผู้ชาย โลกทัศน์ที่มีต่อผู้หญิง 2. โลกทัศน์ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม 3. โลกทัศน์ที่มีต่อการพูดทั้งลักษณะการพูดดีและไม่ดี 4. โลกทัศน์ต่อศาสนาและความเชื่อ

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

คนึงชัย วิริยะสุนทร

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

References

กรมการปกครอง. (2527). หนังสือชุดประเทศไทยเล่ม3, สาธารณรัฐเขมร การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).
กรรณิการ์ โกวิทกุล. (2544). การเปรียบเทียบภาษิต-คำพังเพยจีนกับสำนวน-ภาษิตไทย.วิทยานิพนธ์ อ.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2541). สตรีในคัมภีร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สวิง บุญเจิม. (2537). ผญา. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำลี รักสุทธี. (2553). ผญา. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
อัญชลี สิงห์น้อย. “สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ภาษาส่องวัฒนธรรม” มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10 (2) : 75 – 88.
อุบล เทศทอง. (2548). ภาษิตเขมร : วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเขมร. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.