พหุวัฒนธรรมในแบบเรียนประถมศึกษาลาวและเวียดนาม

Main Article Content

วัชรี ศรีคำ
รุจิวรรณ เหล่าไพโรจน์
สร้อยสุดา สุวรรณะ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาพหุวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านแบบเรียนระดับประถมศึกษาของลาวและเวียดนาม โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและภาพที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาลาวชั้นประถมปีที่ 5 ค.ศ. 1997 และแบบเรียนภาษาลาวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค.ศ. 2017 กับแบบเรียนภาษาเวียดนาม 5 ฉบับที่ 1 และ 2
ค.ศ. 2012 ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอความเป็นพหุวัฒนธรรมในแบบเรียนลาวมีน้อยมาก เนื้อหาในบทเรียนกล่าวถึงความเป็นลาวโดยรวม ไม่ปรากฏเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ มีภาพประกอบน้อยมาก ส่วนการนำเสนอเนื้อหาความเป็น
พหุวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาเวียดนามมีความหลากหลายทั้งเนื้อหาที่แสดงถึง
วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ บทบาทความเป็นหญิงและชาย มีเรื่องราวที่น่าสนใจและบุคคลของประเทศต่างๆ รวมทั้งภาพปกหนังสือและภาพประกอบจำนวนมากมานำเสนอในแบบเรียน นโยบายของลาวมุ่งเน้นนโยบายการกลืนกลายทางวัฒนธรรมทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยกลายเป็นลาว ส่วนเวียดนามมีนโยบายเอกภาพบนความหลากหลาย ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และการสร้างความเป็นชาติประกอบกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

วัชรี ศรีคำ

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาเวียดนามและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

รุจิวรรณ เหล่าไพโรจน์

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาเวียดนามและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สร้อยสุดา สุวรรณะ

อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาเวียดนามและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

กะซวงสึกสาและกีลา. (1997). หัดอ่านซั้นปะถมปีที่ 5. เวียงจัน: สะถาบันค้นคว้า
วิทะยาสาดกานสึกสาแห่งซาด, กะซวงสึกสาทิกาน.
กะซวงสึกสาและกีลา. (2017). หัดอ่านซั้นปะถมสึกสาปีที่ 5. เวียงจัน: สะถาบันค้นคว้าวิทะยาสาดกานสึกสาแห่งซาด, กะซวงสึกสาทิกาน.
กิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2549). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาวสมัยใหม่ (ค.ศ. 1975-ปัจจุบัน). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2548). ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2556). เนื้อหาความเป็นพหุวัฒนธรรมในแบบเรียนไทย. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง. 9(1) มกราคม-เมษายน. 107-130.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2555, 4 พฤษภาคม). พหุวัฒนธรรมนิยม. มติชนสุดสัปดาห์. 32. หน้า 30.
ปณิตา สระวาสี. (2546). การสร้างสำนึกความเป็นชาติของรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยผ่านแบบเรียนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่ ค.ศ.1975-2000. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา คณะสังคมศาสตร์ ร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ปรียาภรณ์ กันทะลา. (2552). แนวคิดการสร้างชาติของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวระหว่าง ค.ศ.1975 – 1986 วิเคราะห์ผ่านหนังสือพิมพ์เสียงปะซาซน . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุธารา โยธาขันธ. (2541). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมเพื่อ
สงเสริมความเขาใจเกี่ยวกับตนเองของเด็กวัยอนุบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เสาวลักษณ์ เรืองศรี. (2016). การผลิตครูสู่ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561, จาก http://www.multied.org/wp-content/uploads/2016/02บทความ-การผลิตครูสู่ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม.pdf
หทัยรัตน์ มั่นอาจ. (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพันธุ์และการบูรณาการแห่งชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : มุมมองจากระบบการศึกษาภาคบังคับ. เอกสารอัดสำเนา.
Banks, A J. (1994a). An introduction to multicultural education. Boston: University of Washington.
Banks, A. J. (1994b). Transforming the Mainstream Curriculum. In Association for Supervision & Curriculum Development. Educational Leadership. Retrieved September 26, 2018, from https://www.csuchico.edu/ourdemocracy/_assets/documents/pedagogy/banks,-j.---1994---transforming-mainstream-curriculum.pdf
Cortes. (1996). Cultural Diversity and Education: Foundations, Curriculum, and Teaching. (5th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
Group of Comrades. (2016). พหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ในบริบทโลกศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561, จาก https://www.facebook.com/gofcomrades/postsพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ในบริบทโลกศตวรรษที่-21พหุวัฒนธรรม-เปนมโนทัศนที่เกิดขึ้นมาท/221740751505929/
Nieto, S. (1996). Affirming Diversity: The Sociopolitical Context of Multicultural Education. (2nd ed.). U.S.A.: Longman Pub Group.
Nguyễn Minh Thuyết và bạn. (2012a). Tiếng Việt 5 Tập 1. Hà Nội : Nhà xuất bản Giáo dục Việt Nam.
Nguyễn Minh Thuyết và bạn. (2012b). Tiếng Việt 5 Tập 2. Hà Nội : Nhà xuất bản Giáo dục Việt Nam.
Saripudin, D. and Komalasari, K. (2016). The Development of Multiculturalism Values in Indonesian History Textbook. American Journal of Applied Sciences. 13 (6): 827.835.
Stuart-Fox, M. (2006). The Challenge for Laos Historiography. South East Asia Research. 14 (3). 339-359.
UNESCO . (2010). Viet Nam - Textbook review from gender perspective (UN/Government of Viet Nam Joint Programme on Gender equality /JPGe, 2009/2010). Retrieved September 26, 2018, from http://www.unesco.org/new/en/education/themes/strengthening-education-systems/quality-framework/promising-practices/viet-nam-textbook-review/
Vietnam Law and Legal Forum magazine. (2015). General textbook reform project approved. Retrieved September 26, 2018, from http://vietnamlawmagazine.vn/general-textbook-reform-project-approved-2233.html
Vu, P. A. (2008). Gender Stereotypes in Story Textbooks for Primary School Students in Vietnam. Institute for Educational Research Faculty of Education University of Oslo. Retrieved September 26, 2018, from https://www.duo.uio.no/bitstream/handle/10852/31072/vu_thesis.pdf?sequence=1