แนวทางการสร้างสรรค์งานออกแบบสัญลักษณ์ความเชื่อความศรัทธา แห่งพวงมาลัยไทย

Main Article Content

พีรติ จึงประกอบ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาเรื่องพวงมาลัยเอกลักษณ์ความศรัทธาแห่งความเป็น
ไทยถูกผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวไทยในแง่มุมของความเชื่อในหลากหลายรูปแบบ
การนาเอาเอกลักษณ์จากพวงมาลัยที่ถูกบ่มเพาะเป็นรากเหง้าแห่งศิลปวัฒนธรรม
เป็นวิถีของไทยแต่โบราณมาศึกษาและดึงเอารูปแบบที่มีนัยสาคัญหลากหลายมิติอัน
เป็นเอกลักษณ์ของพวงมาลัย จะส่งเสริมการอนุรักษ์วิถีแห่งมรดกไทยและเป็น
แรงจูงใจทางจิตใจรูปแบบใหม่ที่มีคุณ ค่าตลอดจนให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอด
ศิลปวัฒนธรรมและวิถีไทย การนาพวงมาลัยประยุกต์ใช้ประโยชน์และแนวทางในการ
ออกแบบเพื่อสื่อสาร ซึ่งลักษณะของชุดสื่อสารความเป็นพวงมาลัยเป็นแนวทางหลัก
ในการสร้างรูปแบบของการค้นคว้าและสรุปแนวทางเป็นกรอบในการสร้างสรรค์
ผลงานที่เป็นอัตลักษณ์ของพวงมาลัย ที่มีคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของความเชื่อความ
ศรัทธาจากการร้อยมาลัยผสมผสานอยู่ ซึ่งในปัจจุบันพวงมาลัยจะถูกนาไปใช้
หลากหลายแตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ แต่มายาคติแห่งการเริ่มต้น ตั้งอยู่ และ
ดับไป แล้วร้อยเรียงเพื่อแทนค่าความรู้สึกของผู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจะยังคงอยู่คู่กับ
สังคมไทยตราบนานเท่านาน ความเข้าใจถึงคุณค่าของมาลัยที่แท้จริงได้และตั้งอยู่บน
พื้นฐานแห่งความดีงามภายในจิตใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พีรติ จึงประกอบ

อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

References

กรมศิลปากร. (2531). นางนพมาศหรือตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์อัสสัมชัญจันทนา.
สุวรรณมาลี. (2529). มาลัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์โอเดียน สโตร์.
ชินวรสิริวัฒน์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง. (2554). ศีวิชัย. พระนคร :
โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
พัฒนา เจริญสุข. (2551). “ศิลปะมาลัยไทยประยุกต์สู่ การออกแบบภายใน
ศูนย์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น.” วิทยานิพนธ์ ศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน ภาควิชาการออกแบบตกแต่ง-ภายใน.
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2502). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระจันทร์
วันเพ็ญ พงษ์เก่า. เอกลักษณ์ไทย มาลัยดอกไม้สด. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แม่บ้าน,
ม.ป.ป.
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2551). มาลัยดอกไม้สด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อนุมานราชธน, พระยา. (2526). วัฒนธรรมและประเพณีๆ ของไทย. กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์เจริญธรรม
วัสดุอุปกรณ์ ดอกไม้ ใบไม้สาหรับร้อยมาลัย. เข้าถึงเมื่อ 27 กันยายน 2557 :
www.pirun.ku.ac.th
สานักการสังคีต กรมศิลปากร. “นาฏศิลป์ – ดนตรี”, คลังวิชาการ. เข้าถึงเมื่อ 19
กันยายน 2557 : www.finearts.go.th/performing/
สานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์. ประเพณีบุญพวงมาลัยไม้ไผ่กุดหว้า
อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์. เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2557 เข้าถึงได้จาก
www.thainews.prd.go.th
อินเดียสมัยพุทธกาล. เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2557 เข้าถึงได้จาก
www.samkokview.com