การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

Main Article Content

ยุวดี จิตต์โกศล

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรม ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร (2) ศึกษาความ
ต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
ทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัด
ยโสธร และ (3) เสนอแนะกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ให้แก่
ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) โด ย ผู้วิจัย จ ะ ท าก ารสัม ภ าษ ณ์เชิงลึ ก (In-depth
interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อเก็บข้อมูลกับประชากร
คือ ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ซึ่งผู้วิจัย
ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชุมชนบ้านกว้าง
ท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร พบว่า ชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง
จังหวัดยโสธร มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวยกเว้นศักยภาพด้านที่พัก 2) ความ
ต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
ทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัด
ยโสธรในปัจจุบันนั้นพบว่า กิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ กิจกรรมการแสดงราต้อนรับ
กิจกรรมการทาปลาส้มอินทรีย์ กิจกรรมการทาขนมพื้นบ้าน กิจกรรมการทาเครื่อง
จักสาน กิจกรรมชมสวนสมุนไพร กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นกิจกรรมที่ถือได้
ว่ามีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม แต่ยังขาดความโดดเด่นและ
ขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน
3) ข้อเสนอแนะการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์
สาหรับชุมชนบ้านกว้างท่าเยี่ยม อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ชุมชนสามารถดาเนินการ
ได้ดังนี้ (1) พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สะท้อนความโดดเด่นและ
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น (2) พัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยว
ด้านการเข้าถึง และด้านสิ่งอานวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว เช่น ห้องน้าและ
ที่พัก (3) การพัฒนาด้านการตลาด (4) การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่สามารถ
สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน และ (5) การพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีทักษะในการ
นาเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ยุวดี จิตต์โกศล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พ.ศ. 2555 – 2559.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.
2560 - 2564.
ชายชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง
อาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. สานักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ชุมพล รอดแจ่ม. (2555). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อาเภอบาง
กรวย จังหวัดนนทบุรี. สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี วิทยาลัยราชพฤกษ์.
เทิดชาย ช่วยบารุง. (2551). การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์
วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การพัฒนาตัวแบบยุทธศาสตร์การ
จัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวา ใน
พื้นที่อาเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สาขาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการ
จัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิวัฒน์ชัย บุญภักดิ์. (2550). ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.
กรุงเทพมหานคร.
อาภาวดี ทับสิรักษ์. (2555). การพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมของชาวญัฮกุร อาเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาอิสระ
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Binkhorst, E. (2 0 0 6 ). The Co–Creation Tourism Experience [Online].
Available:
http://www.esade.edu/cedit2 0 0 6 / pdfs2 0 0 6 / papers/esther
binkhorst_paper_esade_may_06.pdf. [May, 15 2017]
Richards, G. and Raymond, C., (2000). Creative Tourism. ATLAS News,
no. 23, 16-20.
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In
Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global
Conversation how to provide unique creative experiences
for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe &
UNESCO International Conference on Creative Tourism in
Santa Fe. pp. 78–90. New Mexico. USA.