แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

เขมจิรา หนองเป็ด
สุวภัทร ศรีจองแสง
ยุวดี จิตต์โกศล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัด
อุบลราชธานี (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มาเยือนชาวไทยที่มีต่อองค์ประกอบ
ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี และ (3) เพื่อนาเสนอแนวทางการส่งเสริม
การท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวไทย
ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
statistic) ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการ
พรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด
อุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาใน
ปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้างเอกชน มีรายได้ 20,001-30,000
บาท มีภูมิลาเนาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ มักจะเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี
ในช่วง วันเสาร์-อาทิตย์ ในดือนกรกฎาคม ผู้มาเยือนชาวไทยส่วนใหญ่นิยมจัดการ
เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มีผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวคือเพื่อน มีจุดประสงค์ในการ
เดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะนั้น โดยมีการพักค้างคืน มี
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวเป็นจานวนเงินระหว่าง 2,001 - 3,000 บาทต่อคน
ซึ่งผู้มาเยือนชาวไทยส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีเป็นครั้งแรก
และคาดว่าจะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งข้อมูลที่ผู้มาเยือน
ชาวไทยใช้ในการสืบค้นข้อมูลคือเฟสบุ๊ค (facebook) และสื่อบุคคล (ญาติ/เพื่อน/คน
รู้จัก)
จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้มาเยือนชาวไทยที่มีต่อองค์ประกอบ
ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานีทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ
ด้านแหล่งท่องเที่ยว องค์ประกอบด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว องค์ประกอบด้านที่พัก
องค์ประกอบด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และองค์ประกอบด้านสิ่งอานวยความ
สะดวกในแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ผู้มาเยือนชาวไทยมีความพึงพอใจต่อองค์ประกอบ
ด้านแหล่งท่องเที่ยวและองค์ประกอบด้านที่พัก แต่ไม่พึงพอใจต่อองค์ประกอบด้าน
กิจกรรมการท่องเที่ยว องค์ประกอบด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และองค์ประกอบ
ด้านด้านสิ่งอานวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว
แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวควรมีการจัดทาข้อมูลเพื่อแนะนาช่วงเวลาหรือ
ฤดูกาลที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี
และมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ผู้มาเยือนชาวไทยเพื่อประกอบการตัดสินใจและ
วางแผนการเดินทางท่องเที่ยว มีการพัฒนากิจกรรมให้มีรูปแบบที่หลากหลายและ
เปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนชาวไทยมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ผู้ประกอบการด้านที่พักควรมี
การสร้างครือข่ายผู้ประกอบการด้านที่พักทั้งภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อ
สร้างความร่วมมือในส่งต่อและการกระจายผู้มาเยือนชาวไทยไปยังพันธมิตรทางธุรกิจ
จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานผู้ให้บริการทั้งทักษะการปฏิบัติงานบริการตาม
ตาแหน่งงาน การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความพึงพอใจในการบริการแก่ผู้
มาเยือนชาวไทย พัฒนารถโดยสารสาธารณะให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น จัดทา
ป้ายบอกทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวให้ชัดเจน ตลอดจนรักษาและตรวจสอบป้ายบอก
ทางให้อยู่ในสภาพดี มีการตรวจสอบและดูแลสภาพผิวถนนให้อยู่ในสภาพดี ปรับปรุง
สิ่งอานวยความสะดวกให้พร้อมสาหรับการให้บริการแก่ผู้มาเยือนชาวไทย ไม่ว่าจะ
เป็น ศูนย์ให้บริการผู้มาเยือน มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ห้องน้าป้ายสื่อความหมาย ป้ายห้าม
และป้ายเตือน ร้านอาหารที่มีคุณภาพ จอดรถ ตู้เอทีเอ็ม ตลอดจนส่งเสริมให้มีการ
จัดการท่องเที่ยว การบริหารงานทางการท่องเที่ยวแบบบูรณาการของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีการสื่อสารภาพลักษณ์
ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดที่ชัดเจน พัฒนาการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางที่
หลากหลายและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวไทยในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เขมจิรา หนองเป็ด

อาจารย์ประจาหลักสูตรการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาชธานี

สุวภัทร ศรีจองแสง, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์ประจาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาชธานี

ยุวดี จิตต์โกศล, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์ประจาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาชธานี

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560).ข้อมูลสถิติผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว
ภายในประเทศในปี พ.ศ 2559. สืบค้น 30 สิงหาคม 2560. จาก
http://www.tourism.go.th.
กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม. สาขาการจัดการการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2556 –
2560. สืบค้น 30 สิงหาคม 2560. จาก https://www.mots.go.th
______. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. สืบค้น 30 สิงหาคม 2560. จาก
http://www.mots. go.th/ewt_dl_link.php?nid=8265.
กุลวดี ละม้ายจีน. (2552). องค์ประกอบการท่องเที่ยว. สืบค้น 20 ตุลาคม 2559.จาก
http://www.kmuttaradit.com.
ชนินทร์ เก่งกล้า และ นิธิ มีปลื้ม. (2555). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบุรี.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
น้าฝน จันทร์นวล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวจีนที่มา
ท่องเที่ยวเมืองไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
นานาชาติแสตมฟอร์ด.
ประพินรัตน์ จงกล. (2556). กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวในอ้าเภอสิงหนคร
จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สงขลา.
พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
ท่องเที่ยว ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่
เดินทางมาเที่ยวตลาดน้าในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ศุภรดา มาจันทร์. (2558). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสีเขียวบ่อน้าพุร้อนแม่
กาษา อ้าเภอแม่สอด จังหวัดตาก กรณีศึกษาการจัดการบ่อน้าพุร้อนแม่
กาษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรีรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมผู้มาเยือน. เอกสารประกอบการสอนคณะ
วิทยาการจัดการ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวีณัสญ์ โสภณสิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:
อินทนิล.
แสงเดือน รตินธร. (2555). ศึกษาปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อผู้มาเยือน
ชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้น 23
กันยายน 2559. จาก https://www.tci-thaijo.org.
Crompton, J. (1979) Motivations for pleasure vacation. Annals of
Tourism Research 6(4).
Dann, G. (1977). Anomie, ego-enhamcement and tourism. Annals of
Tourism Research 4(4).
Orawee Hodge. (ม.ป.ป.). 10 อันดับเมืองท่องเที่ยวยอดฮิตแห่งปี พ.ศ. 2559.
สืบค้น 31 ตุลาคม 2560.
จาก https://www.skyscanner.co.th /news/inspiration/thailandpopular-
destinations-2016-first-half/.