กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่ชนบท เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามจุดเน้นของนักเรียน

Main Article Content

กัญจนา สันฐาน
ประกอบ คุณารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การบริหารเชิงกลยุทธ์
ตามจุดเน้นของนักเรียน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของ
การบริหารโรงเรียน และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามจุดเน้นของ
นักเรียน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ โรงเรียน
ขนาดเล็กในเขตพื้นที่ชนบท สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์
จานวน 50 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 124 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล
ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้
ของกลยุทธ์ ได้นามาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ
ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้รับรางวัลพระราชทานสองโรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก
ที่ผ่านการประเมิน สมศ. ระดับคุณภาพ ดีมาก จานวนสองโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญและ
ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวนเก้าคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
ประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ชนบท โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก (x̅=4.02 จาก 5.00) กลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่ชนบท
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามจุดเน้นของนักเรียนประกอบด้วยสี่กลยุทธ์ 36
วิธีดาเนินการ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 คือ สร้างภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 2 คือ
พัฒนาการบริหารงานงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 3 คือ เสริมสร้าง
สมรรถภาพครูและบุคลากร และกลยุทธ์ที่ 4 คือ พัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่ความยั่งยืน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัญจนา สันฐาน, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

นักศึกษาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นาการเปลี่ยนแปลง
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

ประกอบ คุณารักษ์, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

รองศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นาการเปลี่ยนแปลง
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

References

Certo, Samuel C. and Peter, J. Paul. (1991). Strategic Management :
Concept and Applications. New York: McGraw-Hill.
Hoy, W.K. & Miskel C.G. (2001). Education administration (6th ed.). New
York: McGraw-Hills Compainies.
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2557). รูปแบบกลยุทธ์ในการพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษา
เอกชนกระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยานิพนธ์(ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.พีรศักดิ์ หม่อนกันทา.
(2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้าน
แหลมโพธิ์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2556). การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน
การศึกษารากฐานทางเลือกประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
ภารุจีร์ เจริญเผ่า. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาเด็กไทยใน
ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ:
วิทยานิพนธ์ (ปริญญาดุษฎีบัญฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนพัฒนาของกระทรวงศึกษาธิการ
ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี.
สมพิศ ใช้เฮ็ง. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของ
โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท.
วิทยานิพนธ์ (ปริญญาดุษฎีบัญฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คุณภาพนักเรียนในโรงเรียน
ขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.สุมิตร สุวรรณ. (2558). การสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
ขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม. รายงาน. นครปฐม:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกาแพงแสน.