การพัฒนาแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บรรพต พิจิตรกำเนิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย
  • ปริศนา มัชฌิมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย
  • สายสุดา ปั้นตระกูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย
  • ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jiskku.2025.3

คำสำคัญ:

คลังข้อมูลดิจิทัล, มรดกภูมิปัญญา, วัฒนธรรม, การรวบรวมข้อมูล, การดูแลรักษาดิจิทัล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมชุดความรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาพัฒนาแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

วิธีการศึกษา: ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสำนักงานเขตดุสิต นักวิชาการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคลังข้อมูล และผู้นำ/ชาวชุมชนเขตดุสิต ใช้เครื่องมือ 4 แบบ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก, แบบบันทึกประเด็นจากการประชุมกลุ่มย่อย, แบบประเมินประสิทธิภาพแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัล, และแบบสอบถามความพึงพอใจจากผู้ใช้แพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเขตดุสิต ข้อมูลจากสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อยจะถูกวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถามจะถูกวิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ข้อค้นพบ: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเขตดุสิตมีทั้งหมด 32 รายการ นำเสนอผ่านแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) รองรับการบันทึกข้อมูลภูมิปัญญาชุมชน 2) เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนและคนรุ่นใหม่ 3) เป็นแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว 4) ใช้ตัวอักษรที่อ่านง่ายและปรับขนาดได้ตามความต้องการ 5) มีระบบป้องกันความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน โดยผู้ทดลองใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก

การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: การพัฒนาแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้ สามารถนำไปใช้ในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีมรดกทางวัฒนธรรม หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณค่าในลักษณะอื่น ๆ

Downloads

References

Chirakitnimit, N., & Laoakka, S. (2020). Current Conditions and Problems of Digital Cultural Heritage Archive in Thailand. Community and Social Development Journal, 21(3), 144–154. https://doi.org/10.14456/rcmrj.2020.240385

Chirakitnimit, N., & Laoakka, S. (2021, September-Secember). Development of the Lamphun Digital Cultural Heritage Archive to Promote the Creative Economy. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 11(3), 251-266.

Cultural Heritage Promotion and Preservation Act 2016. (2016, March 1). Royal Gazette (Volume 133 Chapter 19a), 1-9.

Department of Cultural Promotion. (2022). National Intangible Cultural Heritage. Retrieved from https://ich-thailand.org/heritage/national

Digital Government Development Agency (Public Organization). (2022). Digital Government Standards: Framework for the Development of Standards for Linking and Exchanging Government Data. Retrieved from https://standard.dga.or.th/wp-content/uploads/2022/08/TGIX_Overview_Framework-v-1.3-sign.pdf

Dusit District Office. (2022). Annual action plan 2022 of Dusit District Office. Bangkok: Dusit District Office.

Thali, K. (2022). Conservation and Development of The Treasury of Cultural Information for Ang Sila Traditional Market Community, Chonburi province. Arch Journal, 34(1), 114-129.

Liu, Y. (2022). Application of Digital Technology in Intangible Cultural Heritage Protection. Mobile Information Systems, 2022, 1-8. https://doi.org/10.1155/2022/7471121

National Research Council of Thailand. (2021). Guide to standards for managing research results in digital information repositories. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Neamtong, N. (2018). Data challenges in the digital age. Retrieved from https://www.scimath.org/articletechnology/item/8472-2018-07-18-04-04-54

Rungcharoensuksri, S. (2019). The role and challenges of the “National Heritage Office” in managing and maintaining cultural heritage information. Retrieved from https://www.slideshare.net/slideshow/ss-205926398/205926398#5

Ungsithiphunphon, S., & Laphaphon, K. (Eds.). (2020). Creating a digital archive of ethnic languages and cultures in Thailand. Nakhon Pathom: Research Institute for Languages and Cultures of Asia (RILCA).

Wells, D. (2023). What Is Data Curation? Why Is It Important? Retrieved from https://www.alation.com/blog/what-is-data-curation/

Zhu, L., & Pang, T. (2022). Research on Digital Platform Technology of Intangible Cultural Heritage in Beijing Section of Great Wall Cultural Belt. 2022 International Conference on Culture-Oriented Science and Technology (CoST), (426-430). China: Beijing Municipal Education Commission. https://doi.org/10.1109/cost57098.2022.00093

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-03

How to Cite

พิจิตรกำเนิด บ., มัชฌิมา ป., ปั้นตระกูล ส., & ลีลากิจไพศาล ย. (2025). การพัฒนาแพลตฟอร์มคลังข้อมูลดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. Journal of Information Science Research and Practice, 43(1), 44–57. https://doi.org/10.14456/jiskku.2025.3