การประยุกต์ใช้ไลน์บอทและเทคนิคการเข้ารหัสในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลจากการจับภาพหน้าจอการสนทนาบนสื่อสังคมออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jiskku.2024.31คำสำคัญ:
ไลน์บอท , การเข้ารหัส , การถอดรหัส, ภาพจับหน้าจอบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลการสนทนาบนแพลตฟอร์มออนไลน์โดยเฉพาะแอปพลิเคชันไลน์ที่อาจถูกเข้าถึงจากการจับภาพหน้าจอ ส่งผลให้ข้อมูลสำคัญมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการพัฒนาระบบไลน์บอทที่ให้บริการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อความระหว่างคู่สนทนา ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีผู้ทดลองใช้งานระบบไลน์บอท จำนวน 50 คน
ข้อค้นพบ: การประยุกต์ใช้ระบบไลน์บอทที่ให้บริการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อความระหว่างคู่สนทนา สามารถลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่เกิดจากการจับภาพหน้าการสนทนา พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพจากการประเมินจากบุคลากรในกองทัพอากาศ ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัย ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ ด้านความสะดวกต่อการใช้งาน และด้านความเสถียรของระบบ โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวมเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.23
การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้าน ความปลอดภัยของข้อมูลการสนทนาที่อาจถูกเข้าถึงจากการจับภาพหน้าจอได้
Downloads
References
Delfs, H., & Knebl, H. (2007). Introduction to cryptography: Principles and applications. Heidelberg: Springer-Verlag.
Jahid, S., & Borisov, N. (2021). Enhancing security and privacy in online social networks. Urbana, IL: Illinois University Press.
Keerin, P., & Musikorn, S. (2021). Development of PSRU-LIB Line BOT services support systems with WAWLI AutoLib for service support systems for library 4.0. (In Thai). Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University, 16(1), 114–127.
LINE Corporation. (2024). Security/Privacy. Retrieved from https://help.line.me/line/smartphone/categoryId/20007829/3/pc?lang=en.
LINE Corporation. (2024). The power of Line BOT in customer service. Retrieved from https://help.line.me/line/?contentId=50000087
Maneeheaet, S., & Nilsook, P. (2019). Cyberbullying: Application of hindering technology for school. (In Thai). Journal of Mass Communication. 7(2), 46–67.
National Institute of Standards and Technology (NIST). (2001). FIPS PUB 197: Advanced encryption standard (AES). Retrieved from https://csrc.nist.gov/publications/detail/fips/197/final
Panyakiattikun, J., et al. (2024). Developing channels for selling agricultural products through Line Official Account (Line OA) and Line shopping of Pathom Mongkol Market, Mueang Nakhon Pathom district, Nakhon Pathom province. Proceedings of the 16th NPRU National Academic Conference. (1144-1156). Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.
Paranan, M., & Petwatthananon, J. (2022). A Study of IOT with implementation in Bang Nam Phung floating market 4.0. (In Thai). Journal of Science and Technology RMUTSB, 5, 24-39.
Preelakha, P. (2024). Application for VDO’s content search based on keywords. (In Thai). Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal. 6(2), 69–80.
Sornin, K. (2018). The increasing efficiency for POS system in the coffee shop business with Line chat bot. (In Thai). CRMA Journal, 16(1), 25–40.
Tanaka, R. (2022). Maximizing customer service efficiency with Line BOT. (In Thai). Business Technology Journal, 10(2), 45-56.
Tanomchad, N., Anchuen, P., & Daungklang, P. (2024). The development of disaster relief systems for The Royal Thai Air Force utilizing geographic information systems with Line application. (In Thai). Journal of Information Science Research and Practice. 42(2), 49–63.