บทบาทของมัสยิด Lautze: การนำเสนอทวิลักษ์ของชาวมุสลิมจีนโพ้นทะเลในจาการ์ตา และบันดุง

Main Article Content

อิคราร์ เกนิดาล ริยาดิล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิม ซามาร่า ญาราภิรมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์เกี่ยวกับทวิลักษณ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงผ่านมัสยิดและเพื่อตรวจสอบว่าวัฒนธรรมจีนได้ถูกรับเข้ามาในสังคมอินโดนีเซียผ่านมัสยิดจีนอย่างไรในเขตจาการ์ตาและบันดุง การศึกษาครั้งนี้ใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและสนทนาอย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นเทคนิคเบื้องต้นของการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกจากนี้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาได้แก่หัวหน้ามัสยิด Lautze ในจาการ์ตา 1 ราย และหัวหน้ามัสยิด Lautze 2 ราย ในบันดุง 1 ราย และชาวมุสลิมจีนโพ้นทะเลในจาการ์ตาและบันดุง 4 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยสามขั้นตอน ขั้นตอนแรกข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎี ขั้นตอนที่สองได้ตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคแบบสามเส้า ขั้นตอนสุดท้ายคือการวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งเพื่อตีพิมพ์ผลการวิจัยมัสยิดจีนที่เป็นส่วนหนึ่งที่ธำรงและแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมจีน ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นในรูปแบบเชิงทวิลักษณ์ มัสยิดจีนแสดงให้เห็นวัฒนธรรมลูกผสมและทวิลักษณ์ผ่านศิลปะ กิจกรรมทางศาสนาและรูปสลักที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ มัสยิดจีนมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรสาธารณะและเอกชนซึ่งมีบทบาทในสังคมชาวอินโดนีเซียนที่เป็นกิจกรรมที่ประโยชน์ต่อสาธารณะและด้านสวัสดิการสังคมการนำเสนอทวิลักษณ์เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์และการต่อรองในสังคมระหว่างชาวอินโดนีเซียนและชาวจีนโพ้นทะเลและความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อิคราร์ เกนิดาล ริยาดิล, คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

นักศึกษาปริญญาโท

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิม ซามาร่า ญาราภิรมย์, คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 

 

 

 

References

Barth, F. (1998). Ethnic groups and boundaries: The social organization of culture difference. Waveland Press.

Clark, W. H. (1958). The psychology of religion.

Cohen, A. (Ed.). (2014). Urban ethnicity (Vol. 3). Routledge.

Cohen, A. (2015). Two-dimensional man: An essay on the anthropology of power and symbolism in complex society. Routledge.

Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2017). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. Sage publications.

Foucault, M. (1998). The history of sexuality: The will to knowledge. London: Penguin.

Foucault, M. (1978). The history of sexuality: An introduction. Ham- monsworth: Penguin.

Foucault, M. (1977). Discipline and Punish: The Birth of the Prison (trans. A. Sheridan; New York: Pantheon). Soft power and strategy, 49.

Geertz, C. (1973). The interpretation of cultures (Vol. 5019). Basic books.

Handinoto. (2009). Perkembangan Arsitektur Tionghoa di Indonesia. Dalam A. H. Kustara (Ed.). Peranakan Tionghoa Indonesia: Sebuah Perjalanan Budaya (hlm.70-92). Jakarta: PT Intisari Mediatama dan Komunitas-Lintas Budaya Indonesia.

Hoon, C. Y. (2021). Between Hybridity and Identity: Chineseness as a Cultural Resource in Indonesia. Contesting Chineseness: Ethnicity, Identity, and Nation in China and Southeast Asia, 167-182.

Hutnyk John. (2005). Diaspora & Hybridity, London: Sage.

ISLAM, M. P. (2020). ZAKIAH DARAJAT, MUSLIMAH PSIKOLOGI ISLAM DI INDONESIA. Nubar-Tokoh Pendidikan Dunia (Jabar# 59) Jilid 2, 27.

Koentjaraningrat, K. P. H. (1990). Pengantar Ilmu Antropolog, (Introduction to Anthropology). Jakarta, Indonesia: PT Rineka Cipta.

Qurtuby, S. A. (2003). Arus Cina-Islam-Jawa. Jogjakarta: Inspeal Ahimsakarya Press.

Tjahjana, C. (2013). Akulturasi Budaya dalam Arsitektur Bangunan Masjid Lautze 2 Bandung.

Turner, V. W. (2018). The drums of affliction: a study of religious processes among the Ndembu of Zambia. Routledge.

Tuner, Victor W. (1967). The Forest of Symbols: Aspects of Ndembu Ritual. Ithaco: Cornell University.

Tuner, Victor W. (1969). The Ritual Process: Structure and Anti-Structure. Chicago: Aldine Publishing Company