การศึกษาสถานการณ์ ปัจจัย และผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร

Main Article Content

กิตติชัย อธิกุลรัตน์
ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล
รชฏ ขำบุญ
สุภารัตน์ คะตา
กฤตติกา เหล่าวัฒนโรจน์
พฤทธศ์ สามสังข์
ธนวรรณ ฤทธิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาสถานการณ์ ปัจจัย และผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล ทำการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารแพลตฟอร์ม จำนวน 1 แพลตฟอร์ม ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร จำนวน 40 ราย ร้านอาหาร จำนวน 21 ร้าน และลูกค้า จำนวน 20 ราย ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารไม่ได้มีสถานะเป็นลูกจ้าง มีรูปแบบการทำงานทั้งแบบประจำและชั่วคราว โดยการทำงานประจำมีชั่วโมงการทำงาน 12-14 ชั่วโมง และการทำงานชั่วคราวมีชั่วโมงการทำงาน 2-4 ชั่วโมง การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายจราจร และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจักยานยนต์ แพลตฟอร์มมีหน้าที่มอบหมายงานและกำกับการปฏิบัติงานของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร ส่วนร้านอาหารและลูกค้าสามารถส่งเสริมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจอดรถเพื่อรับส่งอาหาร รวมถึงพื้นที่พักรอในระหว่างรออาหารจากร้านอาหาร ผลการศึกษาเชิงปริมาณ จากการรวบรวมแบบสอบถามที่ตอบกลับ จำนวน 465 ราย จาก 480 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.875 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทั้ง 6 ปัจจัยมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านรถจักรยานยนต์และความพร้อมของอุปกรณ์ 2. ปัจจัยด้านสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 3. ปัจจัยด้านถนนและเส้นทางการขนส่ง 4. ปัจจัยด้านวิธีการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1. บาดเจ็บเล็กน้อย 2. ทรัพย์สินเสียหาย 3. ขาดรายได้สำหรับครอบครัว และผลกระทบด้านอาชีวอนามัย ที่มีความคิดเห็นมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1. อาการเหนื่อยล้า 2. อาการแสบร้อนบริเวณหลังมือและต้นคอ และ 3. โรคผิวหนัง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กิตติชัย อธิกุลรัตน์, ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

 

ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล, วิทยาลัยบริหารธุรกิจ นวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

 

รชฏ ขำบุญ, วิทยาลัยบริหารธุรกิจ นวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

 

สุภารัตน์ คะตา, สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน (องค์การมหาชน)

นักวิจัยปฏิบัติการ

 

กฤตติกา เหล่าวัฒนโรจน์, สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน (องค์การมหาชน)

นักวิจัยปฏิบัติการ

 

พฤทธศ์ สามสังข์, สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน (องค์การมหาชน)

นักวิจัยชำนาญการ

 

ธนวรรณ ฤทธิชัย, สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน (องค์การมหาชน)

นักวิจัยชำนาญการ

 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร, และ วรดุลย์ ตุลารักษ์. (2563). รูปแบบงานใหม่ของคนขี่มอเตอร์ไซค์ส่งอาหารที่กำกับโดยแพลตฟอร์ม,

มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ร่วมกับสถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม. http://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/16337.pdf.

จำเนียร จวงตระกูล. (2560). การออกแบบการวิจัยภาคปฏิบัติ: การศึกษาจากบทความวิจัยในวารสารวิชาการในประเทศไทย.

วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 4(2), 172-206.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปุญญภพ ตันติปิฎก และภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล. (2021). อินไซด์ธุรกิจ Food delivery: เดินหน้าขยายตลาดพร้อมบริการที่หลากหลาย.https://www.scbeic.com/th/detail/product/7906.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). คนทำงานแพลตฟอร์มในเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิชาการแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏ

ราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน, 18(1), 1-10.

นันทพล พุทธพงษ์. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานแพลตฟอร์มดิจิทัล: ศึกษาธุรกิจรับส่งอาหารในประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 5(1), 263-310.

พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน พ.ศ.2554 (2554, มกราคม 17) ราชกิจจานุเบกษา, 128(4ก)

มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มริสสา กองสมบัติสุข, ฌาน ปัทมะ พลยง และ ดวงเดือน ฤทธิเดช (2563). การศึกษาความรอบรู้สุขภาพด้านอาชีวอนามัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(2), 112-120.

ศิริกุล กุลเลียบและคณะ. การศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย. (2553). http://www.roadsafetythai.org/uploads/userfiles/ACC_52016.pdf

ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CONC).(2562). ศึกษาอุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแพลตฟอร์ม (Ride-Hailing Service). https://conc.tbs.tu.ac.th/upload/file/4d063e5c1f0475d7acceb40f7e729c36.pdf.

วัชรพงษ์ เรือนคำ และ ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2562). อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย มุมมองทางวิทยาการระบาด. วารสาร มฉก. วิชาการ 146, 23(1), 146-160.

สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JELI). (2563). เสวนาออนไลน์เรื่อง “สิทธิเสรีภาพและอำนาจในการรวมกลุ่มของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารส่งอาหารรวมทั้งจินตนาการถึงแพลตฟอร์มที่คนงานเป็นเจ้าของและมีอำนาจกำหนดสวัสดิการได้เอง”.แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุระดับจังหวัด. รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561.

Duy Q N.P. et al., (2022). Factors influencing road safety compliance among food delivery riders: An extension of the job demands-resources (JD-R) model. Transportation research Parts A: Policy and Practice 166(2022). 541-556.

Fan. J, et al., (2022).Food-delivery behavior under crowd sourcing mobility services. Journal of traffic and transportation engineering, 9(4), 676-691.

Tran.N.A.T, et al., (2022).Health and safety risks faced by delivery riders during the Covid-19 pandemic. Journal of Transport & Health, 25(2022), 1-12.

Road Safety. United States Department of Transportation. https://www.nhtsa.gov/road-safety

Rusli. R., Mohammad, Z. M., Kamaluddin, A. N., Bakar, H., & Isa, H. M. (2022). A comparison of characteristics between food delivery riders with and without traffic crash experience during delivery in Malaysia. Case Study on Transport Policy, 10(4), 2244-2250. https://doi.org/10.1016/j.cstp.2022.10.006

Yamane, Taro.(1967). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York : Harper and Row.

Zikmund, W.G. (2000). Exploring Marketing Research. 7th ed. New York : The Dryden Press. p.450