เกาะเชจูและภูเก็ตในกระแสความเปลี่ยนแปลง: ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการพัฒนาของรัฐและผลกระทบต่อเกาะทั้งสอง

Main Article Content

กรธัช ชาติอารยะวดี
ทักษิณา ศรีประชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายการพัฒนาของรัฐในทศวรรษปัจจุบันว่าส่งผลกระทบต่อเกาะเชจูของเกาหลีใต้และเกาะภูเก็ตของไทยอย่างไรบ้าง 2) การกระจายอำนาจของรัฐบาลของทั้งสองประเทศซึ่งอาจส่งเสริมหรือขัดขวางการพัฒนาดังกล่าว และ 3) บทบาทของประชาสังคมในการส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลของเกาะทั้งสอง การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการเปรียบเทียบกรณีที่เหมือนมากที่สุด (Most Similar System Design) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจอห์น สจ๊วต มิลล์ และมีสมมติฐานว่า ปัจจัยทั้งสามเหล่านี้ ได้แก่ นโยบายรัฐ การกระจายอำนาจและประชาสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นและจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเกาะทั้งสอง


ผลการวิจัยพบว่า นโยบายการพัฒนาของรัฐของทั้งประเทศเกาหลีใต้และประเทศไทยได้ส่งผลกระทบที่สวนทางกันเองต่อเกาะทั้งสอง คือ ในขณะที่นโยบายจำนวนมากกำหนดขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวและการลงทุนกลับเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความผันผวนของชีวิตคนในท้องถิ่น ส่วนความแตกต่างระหว่างสองประเทศที่พบคือ ระดับการกระจายอำนาจของรัฐบาลและบทบาทของประชาสังคม กล่าวคือ ระดับการกระจายอำนาจของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่แสดงผ่านการเป็นเกาะที่ปกครองตนเองของเชจูนั้นทำให้เกาะเชจูดูมีอนาคตสดใสกว่าเนื่องจากคนท้องถิ่นมีสิทธิ์เลือกเส้นทางที่ยั่งยืนของพวกเขาเอง ถึงแม้จะมีข้อจำกัดให้เห็นอยู่อีกมากก็ตาม ในทางตรงกันข้าม ระดับการกระจายอำนาจของรัฐบาลไทยที่ยังไม่สมบูรณ์ ได้ส่งผลให้เกาะภูเก็ตยังคงต้องพึ่งพาการริเริ่มจากส่วนกลางอย่างมาก ทำให้การบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับมอบอำนาจจากคนท้องถิ่น ยังอ่อนแอและขาดประสิทธิผล สำหรับบทบาทของประชาสังคมนั้น เกาะเชจูมีความเข้มแข็งและสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกันแน่นหนา ในขณะที่ภูเก็ตยังคงต้องพัฒนาต่อไปเพื่อเพิ่มพูนบทบาทของประชาชนในการร่วมมือกับภาครัฐและเกาะติดทิศทางนโยบาย เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยในเกาะให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทักษิณา ศรีประชา, คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2561 - 2565 ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. จังหวัดภูเก็ต.

ณัฐชัย ไชยารัตน์. (2550). แนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวบนพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติธรณีพิบัติสึนามิ: กรณีศึกษา หาดกมลา ตําบลกมลา อําเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 5(2), 55-76.

เทศบาลนครภูเก็ต. (2560, 29 มีนาคม). เทศบาลนครภูเก็ตขอเชิญร่วมงานรำลึก ๑๐๔ ปี พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ. https://www.phuketcity.go.th/news/detail/2230

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2557). ภาคธุรกิจ เมืองภูเก็ต. https://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/research-40.pdf

ศิรินทร์ สังข์ทอง และอารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1), 1-21.

สถาบันไทยพัฒน์. (2558). การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ. มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://www.thaicsr.com/2015/09/millennium-summit.html

สถาบันไทยพัฒน์. (2558). การประชุม Earth Summit 1992 (Rio). มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://www.thaicsr.com/2015/09/earth-summit-1992-rio.html

สันติ บางอ้อ. (21 มิถุนายน 2456). สภาพัฒน์กับการพัฒนาประเทศไทย: การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย ตอนที่ 2. โพสต์ทูเดย์. https://www.nesdc.go.th/images/content/data03_2-46.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2550). แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2550 - 2554. https://www.nesdc.go.th/article_attach/Book-cyan%20220851.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดภูเก็ต. https://www.opsmoac.go.th/phuket-dwl-files-422791791802

สํานักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2563). การสํารวจภาวะการทํางานของประชากร จังหวัดภูเก็ต ไตรมาสที่ 4 : ตุลาคม – ธันวาคม 2562. http://phuket.nso.go.th/images/new/inpkt_stat/labor_q4_62.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ฉบับพ.ศ. 2562. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11539

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 – 2570. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11684&filename=index

Achadthaya Chuenniran. (2020, 22 July). Phuket in big push to revive tourism. Bangkok Post. https://www.bangkokpost.com/business/1955371/phuket-in-big-push-to-revive-tourism

C9 Hotelworks. (2020, May). Phuket Economic Review. https://www.c9hotelworks.com/wp-content/uploads/2020/05/phuket-economic-overview-2020-05.pdf

Directorate-General for International Cooperation and Development European Commission (2016). Supporting decentralisation, local governance, and local development through a territorial approach. Publications Office of the European Union. https://europa.eu/capacity4dev/file/32190/download?token=KDvjKUTr

FOCUS Asia Pacific. (2022, April 1). South Korea: 99.6% of tourists in Jeju in 2021 were locals. https://focusgn.com/asia-pacific/south-korea-99-6-of-tourists-in-jeju-in-2021-were-locals

Glass, Lisa-Maria & Newig, J. (2019). Governance for achieving the Sustainable Development Goals: How important are participation, policy coherence, reflexivity, adaptation and democratic institutions? Earth System Governance Journal, 2. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2589811619300308

Invest KOREA. (2020). Primary Industry. Jeju. https://www.investkorea.org/jj-en/cntnts/i-1502/web.do

Jang, Hanbyeol & Thomas, Kimberley. (2021). On Being Loved to Death: The Tourism, Black Pig and Groundwater Nexus on Jeju Island, South Korea. Global Water Forum. https://globalwaterforum.org/2021/10/01/on-being-loved-to-death-the-tourism-black-pig-and-groundwater-nexus-on-jeju-island-south-korea/

JSSGP. (2017). Modified 2nd Comprehensive Plan Jeju Free International City. Jeju Special Self-Governing Province.

Kim, Seon-Pil. (2020). Mainland development policy in an autonomous subnational island jurisdiction: spatial development and economic dependence in Jeju, South Korea. Island Studies Journal, 15(1), 169-184.

Ko, Ki-bong, Kang, Young-hoon and Hwang, Kyung-soo. (2020). Implications of Hometown Love Donation (Hometown Taxation) System to Jeju Island. World Environment and Island Studies, 10(3), 111-121. http://islandstudies.net/weis/weis_2020v10/v10n3-2.pdf

Mercado, R., Páez, A., Scott, D. M., Newbold, B. & Kanaroglou, P. (2007). Transport policy in aging societies: An international comparison and implications for Canada. The Open Transportation Journal, 1, p. 1-13.

Open Development Thailand. (9 กรกฏาคม 2561). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/#ref-1854-14

Yamada, K. (2017, 19 March). Jeju Island goes green as Chinese tourists go elsewhere. Nikkei. https://asia.nikkei.com/Business/Jeju-Island-goes-green-as-Chinese-tourists-go-elsewhere

박소희. (2021, November 30). 제주특별법, 기괴하고 아이러니한 법률...아예 없애자. 제주투데이: http://www.ijejutoday.com/news/articleView.html?idxno=227265