กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ กลับมาใช้บริการธุรกิจที่พักซ้ำ ในเขต ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ณัฐณิชา อารักษ์วาณิช

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการธุรกิจที่พักซ้ำในเขต ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยใช้แบบสอบถามจากการสุ่มแบบโควต้ากับนักท่องเที่ยวชาวไทย160ราย และวิเคราะห์ Frequency, Percent, Mean, S.D., T-test, F-test, Multiple regression statistics


ผลการวิจัยพบว่า มีเพศหญิงและชายจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ50,ส่วนใหญ่อายุ20–29ปี,สถานภาพโสด,การศึกษาระดับปริญญาตรี,อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา,รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 15,000บาท ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ส่วนใหญ่บุคคลที่ร่วมเดินทางคือครอบครัว,เพื่อพักผ่อน,ห้องพักประเภทStandard จำนวน1คืน,ทำเลมีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักมากที่สุด,ครอบครัวมีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกที่พักมากที่สุด ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์(X1) และด้านช่องทางการจำหน่าย(X3) มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการธุรกิจที่พักซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ0.05 สมการพยากรณ์คือY=0.443+(0.515) X1+(0.364)X3

Article Details

How to Cite
อารักษ์วาณิช ณ. (2021). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ กลับมาใช้บริการธุรกิจที่พักซ้ำ ในเขต ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 332–354. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/249278
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2562. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th

_____. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ ปี พ.ศ. 2558 – 2562. ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานนโยบายการเงิน. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/

ธัญภรณ์ เจียรนันทนา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักประเภทบูติคโฮเต็ล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ. (2561). Q&A 153_หากลุ่มตัวอย่างด้วย G*power ได้ทุกประเภทของงานวิจัยไหม. [Video Clip]. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก www.youtube.com/watch?v=yxkz7eDQvsE

บีแอลที. (2562). เมืองรองฮิต ติดเทรนด์เที่ยวปี 2020 ดันรายได้กระจายทั่วประเทศ. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, จาก https://www. bltbangkok.com/

พุทธินันท์ ปัญญาพุฒินันท์. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักในเขาหลัก จังหวัดพังงาของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรสวรรค์ บุญสถิตย์, อรจิรา สันติวราคม, และสุทธิชัย ทองเขาอ่อน. (2563). พอสเทล : เทรนด์ใหม่ของธุรกิจโรงแรมในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(1), 301-317.

มะลิวรรณ ช่องงาม. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการของธุรกิจรีสอร์ทขนาดเล็กในจังหวัดนครนายก. Dusit Thani College Journal, 14(1), 364-375.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดสมุทรสงคราม. (2563). รายชื่อที่พักในจังหวัดสมุทรสงคราม. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563, จากhttps://samutsongkhram.mots.go.th/

สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม. (2557). ยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม รองรับการเข้าสู่สมาคมอาเซียน พ.ศ.2558 – 2560. ค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.samutsongkhram.go.th /aseanskm/pdf/asean-skm.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). สรุปผลเบื้องตน: การสำรวจที่พักแรม พ.ศ.2563. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nso.go.th/

อนุชิต ไกรวิจิตร. (2562). ภาพรวมรายได้การท่องเที่ยวรายจังหวัด ครึ่งปี 2562. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, จาก https://thestandard. com

อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้ว, ชนินทร์ วิชุลลตา, สุขจิตต์ ณ นคร, และศรัญญา ประทุมเพ็ชร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการโรงแรมห้าดาวในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 163-172.