ผลของการใช้การสอบคําศัพท์ทุกคาบต่อการจดจําและการคงอยู่ของคําศัพท์ของนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

Main Article Content

วรลักษณ์ บัญชา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาประสิทธิผลของการใช้การสอบคําศัพท์ทุกคาบต่อการจดจําและการคงอยู่ ของคําศัพท์ การทดสอบการจดจําและการคงอยู่ของคําศัพท์คํานวณโดยการใช้การสอบก่อนเรียน การสอบหลังเรียน และการสอบเว้นระยะหลังเสร็จสิ้นการสอน


กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจํานวน 22 คนคณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นักศึกษาเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการอ่าน ทั้งหมด 20 บทพร้อมด้วยคําศัพท์ เป้าหมาย ในแต่ละคาบ นักศึกษาเรียนคําศัพท์ด้วยตนเอง ในห้องเรียน อาจารย์ตรวจสอบว่านักศึกษา จดจําความหมายคําศัพท์เป้าหมายถูกต้องหรือไม่และตรวจสอบว่านักศึกษาสามารถทําแบบฝึกหัดคําศัพท์ ในหนังสือเรียนถูกต้องหรือไม่ก่อนที่นักศึกษาเริ่มทําข้อสอบในแต่ละคาบ


นักศึกษาทําข้อสอบก่อนเรียนตอนต้นภาคการศึกษา และทําข้อสอบหลังเรียน คาบสุดท้าย ของการเรียนเพื่อตรวจสอบการจดจําคําศัพท์ นักศึกษาทําข้อสอบเว้นระยะหลังเสร็จสิ้นการสอน หลังจากคาบสุดท้าย 28 วัน เพื่อตรวจสอบการคงอยู่ของคําศัพท์ ความแตกต่างระหว่างผลของข้อสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนและผลของข้อสอบหลังเรียนและเว้นระยะหลังเสร็จสิ้นการสอนคํานวณ โดยการใช้ความแตกต่างของค่ามัธยฐานและการใช้ค่าสถิติที่เทสต์


ผลจากค่ามัธยฐานของข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ 0.000 (ค่าความเชื่อมั่น < 0.05) และผลของข้อสอบหลังเรียนและเว้นระยะหลังเสร็จสิ้นการสอน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.025 (ค่าความเชื่อมั่น < 0.05) ซึ่งระบุว่าได้ว่าการใช้การสอบคําศัพท์ทุกคาบช่วยในการจดจําแต่ไม่ช่วยให้เกิดการจดจำแต่ไมช่วยให้เกิดการคงอยู่ของคําศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
บัญชา ว. (2012). ผลของการใช้การสอบคําศัพท์ทุกคาบต่อการจดจําและการคงอยู่ของคําศัพท์ของนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(2), 57–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/246826
บท
บทความวิจัย

References

Anderson, R. C., & Freebody, P. (1981). Vocabulary knowledge. in J. T. Guthrie (Ed.). Comprehension and teaching: Research reviews. Newark, DE: International Reading Association.

Biemiller, A. (1999). Language and reading success. Brookline: Cambridge University Press.

Davis, F. B. (1944). Fundamental factors of comprehension in reading. Psychometrika (9), 185-197.

Klatzky, R. L. (1980). Human memory: structures and processes. New York: W.H. Freeman and Company.

Lightbown, P. and Spada, N. (1993). How languages are learned. Oxford: Oxford University Press.

McGaugh, L. (1973). Learning and Memory. San Francisco: Albon Publishing Company.

Singer, H. A. (1965). A developmental model of speed of reading in grades 3 throug 6. Reading Research Quarterly, 1, 29-49.

Silakwaw, W. (1995). A Comparative Study of Prathomsuksa VI Students'Acheivement and Retention in Learning English Vocabulary through Exercises with and without Games.

Unpublished master's thesis, Srinakarintharawirot University Thailand Thornbury, S. (2002). How to Teach Vocabulary. Essex: Pearson Education Limited