สถานภาพการศึกษาวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" ในปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีจุดมุ่งหมายจะศึกษาสถานภาพการศึกษาเรื่องรามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ในระดับ บัณฑิตศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2550 โดยจะคัดเลือกเฉพาะวิทยานิพนธ์ที่มีแนวทางการศึกษา ที่โดดเด่นชัดเจนของนิสิตนักศึกษาคนไทยเท่านั้น จํานวน 20 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่ารามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีเรื่องสําคัญที่นอกจากจะมีคุณค่าทางรสของวรรณคดี และมีแนวคิดที่ตอกย้ําความเชื่อ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และชนชั้นปกครองว่าเป็นสมมุติเทพแล้ว บทละครเรื่องนี้ยังมีคุณค่าทางด้าน ศิลปะการแสดงอีกด้วย จากข้อมูลที่ได้พบว่า สามารถจําแนกแนวทางการศึกษาวิจัยอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ด้านคือ 1. การศึกษาด้านวรรณคดี 2. การศึกษาด้านคติชนวิทยา 3. การศึกษาด้าน ศิลปะการแสดง และ 4. การศึกษาด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ การศึกษาด้านตัวบทวรรณคดี ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบของเรื่อง คือ เค้าโครงเรื่อง ที่มาของเรื่อง ตัวละคร แนวคิด และลีลา การประพันธ์ การศึกษาด้านคติชนวิทยา คือ การวิเคราะห์โดยนําทฤษฎีทางคติชนวิทยามาเป็น แนวทางในการศึกษา นอกจากนี้ การศึกษาตัวบทฉบับท้องถิ่นก็จัดได้ว่าเป็นการศึกษาในแนวคติชน วิทยาเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย การศึกษาด้านการแสดง ได้แก่ แนวทางการศึกษาในฐานะที่เป็นบทละครเพื่อแสดง ซึ่งได้ศึกษา เปรียบเทียบตัวบทในฐานะวรรณคดีการละครฉบับต่างๆ และเปรียบเทียบกับพระราชนิพนธ์ เรื่องอิเหนา นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับท่ารํา ซึ่งสอดคล้องกับตัวบทที่เขียนขึ้นเพื่อ จัดแสดงอีกด้วย และการศึกษาด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์นั้นได้นําเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองไว้อย่างมีนัยยะสําคัญ นอกจากนี้ยังได้นําแนวคิดทางการเมือง การปกครอง และสังคมวิทยามาศึกษาลักษณะของสังคมในรามเกียรติ์อีกด้วย การสํารวจสถานภาพการศึกษา เรื่องรามเกียรติ์ครั้งนี้ ทําให้เห็นว่า การศึกษาตัวบทในด้านวรรณคดียังคงมีความสําคัญเป็น แนวทางหลัก และตัวบทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 นับว่ามีการศึกษามากที่สุด ทั้งการศึกษา คุณค่าและศึกษาเปรียบเทียบกับตัวบทอื่น
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์, "วิเคราะห์บทละครเรื่องรามเกียรติพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ตามหลักการละครใน. (2529). " วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา : มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชฎารัตน์ สุนทรธรรม. (2528), "การศึกษาเรื่องรามเกียรติสํานวนท้องถิ่นอีสาน วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ญาดา อรุณเวช. (2525). "ความเปรียบในบทละครในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่สอง" วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชลินจ์ จีนนุ่น. (2547). "การวิเคราะห์หนุมานในรามเกียรติ์ฉบับต่างๆ " วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พุฒิมาศ พุ่มพวง. (2540). "วิเคราะห์บทละครรามเกียรติพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพเราะ รักนุ่น. (2541). "ลําดับการดําเนินเรื่องและกลยุทธ์ในศึกแต่ละตอนของรามเกียรติพระราช - นิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑." วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ชาตรี จาตรัส. (2548). "พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์" วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
น่งครณ แซ่อึ้ง. (2538), "วิเคราะห์อารมณ์เศร้าของตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนพระอภัยมณี อิเหนา และรามเกียรติ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2533), "ภาพลักษณ์ของผู้ปกครองในบทละครรามเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิยะดา มากจัย. (2550). "วิเคราะห์บทบาทในการแปลงกายและการปลอมตัวของตัวละครจากบทละครในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิราพร ฐิตะฐาน. (2522). "รามเกียรติ์: ศึกษาในแง่การแพร่กระจายของนิทาน" วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร สิงห์โต. (2517). "ความสัมพันธ์ระหว่างรามายณะของวาลมีกิและพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2526), "รามเกียรติ์: การแปลความหมายทางการเมือง." วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณิต จุลวงศ์. (2536), “โครงสร้างของสังคมในรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารดา สุมิตร. (2515). "ละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๒." วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารมณ์ ไทยสุริโย. (2536). "การศึกษาวิเคราะห์โคลงรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.