ปัจจัยที่ส่งผลให้ร้านอาหารเกาหลีในจังหวัดภูเก็ตประสบความสำเร็จ

Main Article Content

ณัฎฐณิชา เพชรแก้ว
ปริณทิพย์ ภูขะโร
ดร.เอมีล่า แวอีซอ

บทคัดย่อ

ธุรกิจขนาดเล็กก่อให้เกิดการพัฒนาของเศรษฐกิจในพื้นที่ที่กำลังพัฒนา เช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ล้มเหลวในช่วงสองสามปีแรก แต่บางธุรกิจก็ประสบความสำเร็จ วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ร้านอาหารเกาหลีในจังหวัดภูเก็ตประสบความสำเร็จ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) เจ้าของร้านและผู้จัดการของร้านอาหารเกาหลีที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 ร้าน ได้แก่ ร้านมาดัง ร้านแทกึกกี และร้านมิสเตอร์กุง  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารเกาหลีในจังหวัดภูเก็ตประสบความสำเร็จนั้น ได้แก่ การเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ตั้งของร้าน การสร้างฐานลูกค้า การส่งเสริมการตลาด และราคาของผลิตภัณฑ์ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
เพชรแก้ว ณ., ภูขะโร ป., & แวอีซอ เ. (2021). ปัจจัยที่ส่งผลให้ร้านอาหารเกาหลีในจังหวัดภูเก็ตประสบความสำเร็จ. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(1), 156–171. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/246640
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฎฐณิชา เพชรแก้ว, สาขาวิเทศธุรกิจ: เกาหลี คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

นักศึกษาปริญญาตรี

ปริณทิพย์ ภูขะโร, สาขาวิเทศธุรกิจ: เกาหลี คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

นักศึกษาปริญญาตรี

References

เกศสินี วิฑูตชาติ ภาณี รูปสม และ สุทิน สายสงวน. (2542). ทัศนคติของนักธุรกิจเกาหลีต่อการค้ำการลงทุนในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย, โครงการเกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

จิดาภา แจ่มจันทร์ชนก. (2554). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการค้าปลีกเสื้อผ้าผู้หญิงในตลาดนัดจตุจักร. (รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

เจริญขวัญ วงค์เพ็ญ. (2558). E-Word of Mouth และทัศนคติต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหารเกาหลีในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2541). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ชวัล เอี่ยมสกุลรัตน์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการบริโภคอาหารนานาชาติของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

โพสต์ทูเดย์. (2559). ภูเก็ตล้างใหญ่นอมินีต่างชาติ เกาหลี-จีน-รัสเซีย-อังกฤษ ติดกลุ่ม. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561, จาก https://www.landactionthai.org/land/index.php/landaction-news/1442

ศุภลักษณ์ ฉัตรวิเศษ. (2560).พฤติกรรมการบริโภคอาหารหม้อไฟเกาหลีในเขตพื้นที่สยามสแควร์. (รายงานการวิจัย, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/SocioPocket57.pdf.

Namkung, Y., & Jang, S. (2007). Does food quality really matter in restaurants? Its impact on customer satisfaction and behavioral intentions. Journal of Hospitality & Tourism Research, 31(3), 387-409.

Luecke, R., & Collis, D.J. (2005). Strategy: create and implement the best strategy for your business. Boston: Massachusetts Harvard Business School Press.