แรงจูงใจและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้บริโภคในตลาดออนไลน์ กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของผู้บริโภคในตลาดออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของผู้บริโภคในตลาดออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของผู้บริโภคในตลาดออนไลน์
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งทำการสอบถามผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน Chi – Square ทดสอบความสัมพันธ์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 41 – 55 ปี มีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน โดยมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนมากประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ซึ่งมีรายได้มากกว่า 30,000 บาท และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในตลาดออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศหญิงจะนิยมเลือกซื้อกระเป๋าแฟชั่นและหมวกมากที่สุด เหตุผลที่ซื้อเพราะมีแบบสินค้าให้เลือกหลากหลาย คุณภาพเหมาะสมราคา ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ชำระเงินผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เก็บเงินปลายทาง ซื้อตามความต้องการและช่วงเทศกาลต่าง ๆ ซื้อน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ซื้อครั้งละ 1 – 2 ชิ้น งบประมาณในการซื้อ 300-500 บาท และซื้อผ่านช่องทาง Facebook, Line ยกเว้นด้านสถานภาพการสมรส พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทุกด้านกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดในตลาดออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
กลุ่มจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก สอดสานอย่างมีดีไซน์[ออนไลน์]. กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดบ้านห้วยลึก จังหวัดสุราษฎร์-ธานี, 2557-2560. สืบค้นจาก: http://www.kajood.com/DownloadDoc/หัตถกรรมจักสานกระจูด%20Thai%20Handicraft.pdf. [ณ. วันที่ 25 พฤษภาคม 2560].
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในแขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตร
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ใน
กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. เอ็กชเปอร์เน็ท.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิตา เสถียรโชค. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์บน Lazada. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณัฐกานต์ กองแก้ม. (2559). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตแผน ก แบบ ก 2 วิทยาการ
จัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2561). Digital Marketing. นนทบุรี. ไอดีซี พรีเมียร์.
ธัญญ์ธีรา อภิกุลวราศิษฐ์. (2561). สารพัดวิธี Online Marketing. กรุงเทพฯ. วิตตี้กรุ๊ป
อาภาภัทร บุญรอด. (2562). การตลาดยุคใหม่และสังคมดิจิตัล. สืบค้นจาก: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647231
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกระบบสารสนเทศ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี).
พิชชาภา กิตตินันท์วัฒนา. (2555). ทัศนคติและแรงจูงใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้รถยนต์สินสันมาร์ช ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
พิบูล ทีปะปาล. (2545). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ. รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
เมธาวี เผ่าเมธวารีธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปบนออนไลน์ของผู้บริโภค. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ราช ศิริวัฒน์. (23 มกราคม 2560). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). สืบค้นจาก
https://doctemple.wordpress.com/2017/01/23/บทที่-2-แนวคิด-ทฤษฎี-งา/. [ณ วันที่ 23 มกราคม 2560].
วัชราภรณ์ เจียงของ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์โดยมุ่งเน้นปัจจัยด้านช่องทางการรับสินค้า. (งานนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโล-จิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติ
กส์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่ายสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริการเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งที่ตลาด. กรุงเทพฯ. ธนรัชกรพิมพ์.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการ
บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สุปัญญา ไชยชาญ. (2550). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค. สืบค้นจาก
https://docto https://doctemple.wordpress.com/2017/01/23/บทที่-2-แนวคิด-ทฤษฎี-งา/. [ณ วันที่ 23 มกราคม 2560].
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. ธีระฟิล์ม และไซ-แท็กซ์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน). (2561). ข้อมูลคนไทยใช้อินเตอร์เน็ต โดยเฉลี่ยต่อวัน. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานจังหวัดพัทลุง. ผลิตภัณฑ์ OTOP. สืบค้นจาก: http://www.phatthalung.go.th/otop/detail/4.
เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. (มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์).
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาลี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ. ใยไหม เอทดูเคท.
อรพรรณ บุลสถาพร. (2549). กลยุทธ์การตลาดส้มโอขาวแตงกวาภายใต้โครงการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์).
Itopplus Co.,Ltd. พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ยุคปัจจุบันที่เจ้าของธุรกิจควรรู้. สืบค้นจาก http://blog.itopplus.com/tips/id_544_customer_behavior_online. [ณ วันที่ 30 มีนาคม 2560].
Kotler & Keller. (2014). Marketing Management (15e). Pearson Prentice Hall International, Inc.
Schiffman, Leon G.; & Kanuk, Leslie Lazer. (1994). Consumer Behavior. 5 th ed. Englewood Cliffs. New Jersey. Prentice-Hall. Inc.