คุณภาพการบริการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชาวจีน

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณารีญา วีระกิจ
พิชญาภรณ์ ภูมิอภินันท์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคาดหวังและความ พึงพอใจต่อปัจจัยคุณภาพการบริการเชิงสุขภาพ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการและความพึงพอใจโดยรวมต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมถึงแนวโน้มการกลับมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว เชิงสุขภาพชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 410 ชุด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชาวจีนส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 37 ปี มีประสบการณ์ในการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีระยะเวลาพำนักในจังหวัดภูเก็ต 1 – 2 สัปดาห์ และนิยมใช้บริการเชิงการแพทย์ร่วมกับการบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพในระหว่างท่องเที่ยว การบริการทางการแพทย์ที่มีการใช้บริการมากที่สุด คือ ชะลอวัย และการบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพที่มีการใช้บริการมากที่สุด คือ สปา เมื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและความพึงพอใจต่อปัจจัยคุณภาพการบริการ 5 ด้าน พบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวจีนมีความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจ ยกเว้นปัจจัยด้านบุคลากรที่นักท่องเที่ยว มีความพึงพอใจสูงกว่าความคาดหวัง และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพที่มีความพึงพอใจและความคาดหวังไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความพึงพอใจโดยรวม และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวโน้มการกลับมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ลักษณะทางกายภาพ และ ราคา

Article Details

How to Cite
วีระกิจ ณ., & ภูมิอภินันท์ พ. . (2020). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชาวจีน. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(1), 29–52. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/244381
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ทองรื่น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกความงามของผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี (การค้นคว้าอิสระสาขาบริหารธุรกิจ). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2558). กรมสบส.ขับเคลื่อนนโยบาย Medical Hub ไร้รอยต่อมุ่งสู่เมืองแห่งสุข ภาวะความเป็นเลิศด้านบริการสุขภาพ. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.thailandmedicalhub.net:8443/display_news.jsp?id=N00000002198

กรวรรณ สังขกร, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และกาญจนา จี้รัตน์. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทย หลังกระแสภาพยนตร์ The Lost in Thailand (รายงานผลการวิจัย), ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก http://www.sri.cmu.ac.th/~ctrd/uploads/files/file_20171208_1512707714.pdf

ชนิดา ทวีศรี. (2551). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) . ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จาก https://www.l3nr.org/posts/166878

ณัฏฐิรา อำพลพรรณ. (2556). แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม (Spa and Wellness). จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว, ฉบับที่ 4/2556 (ตุลาคม - ธันวาคม 2556). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2004?catid=0&id=546

ทัศนา เกื้อเส้ง, เยาวดี ศรีราม และวิทิต บัวปรอท. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดสภาพแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกทรายขาว (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562, จาก http://park.dnp.go.th/dnp/research/TKWF2.pdf

ลภัส อัครพันธุ์. (2559). นักท่องเที่ยวจีนยังแกร่ง แม้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว, SCB Economic Intelligence Center. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จากhttps://www.scbeic.com/th/detail/product/1936

ฤดี หลิมไพโรจน์. (2558). อิทธิพลของภาพลักษณ์และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวที่จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิพงษ์ บุญยงค์. (2015). MEDICAL TOURISM: เที่ยวเทรนด์ใหม่ เที่ยวเชิงสุขภาพ. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2562, จากhttp://horizon.sti.or.th/node/5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี 55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562, จาก http://www.thai-aec.com/616

สุกัญญา สุขวงศ์. (2558). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/1709

สุชาติ เลียงเเสงทอง. (2562). สปาไทย สวรรค์แห่งการพักผ่อนของนักท่องเที่ยวจีน. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635316

Mo, W. (2559). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม. ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562, จาก

https://research-system.siam.edu/2013-12-20-04-25-20/4116-2013-12-20-05-58-570

C9 Hotelworks. (2016). Phuket Medical Tourism Market, 7 March 2018. C9 Hotelworks. Retrieved March 13, 2019, from https://www.c9hotelworks.com

Chen, C. F. (2008). Investigating structural relationships between service quality, perceived value, satisfaction, and behavioral intentions for air passengers: Evidence from Taiwan. Transportation Research Part A: Policy and Practice, 42(4), 709-717.

Chen, K. H., Chang, F. H., & Wu, C. (2013). Investigating the wellness tourism factors in hot spring hotel customer service. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 25(7), 1092-1114.

Hall, C. M. (2011). Health and medical tourism: a kill or cure for global public health?. Tourism review, 66(1/2), 4-15.

Koh, S., Jung-Eun Yoo, J., & Boger Jr, C. A. (2010). Importance-performance analysis with benefit segmentation of spa goers. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 22(5), 718-735.

Yu, J. Y., & Ko, T. G. (2012). A cross-cultural study of perceptions of medical tourism among Chinese, Japanese and Korean tourists in Korea. Tourism management, 33(1), 80-88.