การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

ผศ. เจษฎา บุญมาโฮม
ดร.ปราณี สีนาค
ผศ. ดร. ศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนบันทึกประจำวันหลังเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินการเขียนบันทึกประจำวัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ 81.30/80.24 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ความสามารถในการเขียนบันทึกประจำวันของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
4. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
บุญมาโฮม เ., สีนาค ป., & วิชัยดิษฐ ศ. . . (2020). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องการเขียนบันทึกประจำวันรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู . วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(2), 120–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/243928
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

เกรียงไกร พละสนธิ และนรีรัตน์ สร้อยศรี. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิตเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนคิดอย่างเป็นระบบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(11). 9-17.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ และคณะ. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลโดยใช้บทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานคริทร์, 39(2). 98-112.

เจษฎา บุญมาโฮม. (2562). การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชัยวัฒน์ ยะปัญญา. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์วิชาหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาสื่อดิจิทัล คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

เชน ชวนชม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(3). 195-206.

ธนพงษ์ ไชยลาโภ เอกลักษณ์ โภคทรัพย์ไพบูลย์ และปริญญ์ โสภา. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนออนไลน์เรื่องการออกแบบเพื่อการผลิตสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2). 134-143.

ประกอบ กรณีกิจ และจินตวีร์ (มั่นสกุล) คล้ายสังข์. (2556). รูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทนในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์, 41(3). 66-82.

มาเรียม นิพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐพร กลิ่นมาลี และดวงกมล โพธิ์นาค. (2562) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบออนไลน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิเทศศึกษา, 9(1). 59-79.

Kennedy, J. Abichandani, P & Fontecchio, A. (2014). Using infographies as a tool for introductory data analytics education. Retrieved 5 June 2020 fromhttps://www.semanticscholar.org/paper/Using-infographies-as-a-tool-for-introductory-data-KennedyAbichandani/b8974a43e6d5ac2792d070f12da2b36ef6d9d3f2