การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอินโดนีเซียในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์อันดีโดยเฉพาะการร่วมมือทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซียมีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน อันเนื่องมาจากมีรากฐานความเข้มแข็งทางด้านศาสนาและประชากรที่ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงทำให้หลายๆ ประเทศให้ความสนใจต่อประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดีกับประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีคนไทยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างที่ให้ความสนใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งกลุ่มผู้เขียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนระดับมัธยมต่างๆ ในภาคใต้ตอนล่างของไทย ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอินโดนีเซียให้กับนักเรียนและนักศึกษา หรือการจัดการสอนภาษาอินโดนนีเซียสำหรับคนต่างชาติ (BIPA) ด้วยเหตุนี้กลุ่มผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเชิงสำรวจการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการสอนภาษาอินโดนีเซียในโปรแกรม (BIPA) ดังกล่าว โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้ 1) การเรียนการสอนภาษาอินโดนีเซีย 2) ระบบการสอนภาษาอินโดนีเซีย 3) สื่อการเรียนการสอนภาษาอินโดนีเซีย และ 4) เนื้อหาการเรียนการสอนภาษาอินโดนีเซีย เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตของกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มประชาคมอาเซียน
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
Alwi, H., dkk. (2003). Tata Bahasa Baku Bahasa Indonesia, Edisi Ketiga. Jakarta: Balai Language.
ASEAN Selayang pandang. Edisi Ke-19. (2010). Jakarta Center.
Dede, C., Whitehouse, P., & Brown-L’Bahy, T. (2002). Designing and studying learning experiences that use multiple interactive media to bridge distance and time. Current perspectives on applied information technologies, 1, 1-30.
Fachrurrozi, A. & Mahyuddin E. (2011). Pembelajaran Bahasa Asing; Metode Tradisional &Kontemporer. Jakarta: Bania Publishing.
Hyland, K. 2003. Second Language Writing (Jack C. Richards, Ed.). New York: Cambridge University Press.
Kusmiatun,Ari. (2016). Mengenal BIPA dan Pembelajarannya. Yogyakarta: K-media.
Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching: An introduction. London: Cambridge University Press.
Purwanti, E. (2007). Pengajaran BIPA sebagai Media Komunikasi Lintas Budaya. Makalah dalam Seminar dan Lokakarya Internasional Pengajaran BIPA. Jakarta: Center Language.
Rivai, O. S., dkk (2010). Pemetaan Pengajaran Bahasa Indonesia bagi Penutur Asing (BIPA) di Asia; Laporan Akhir Program Insentif Riset bagi Peneliti dan/ atau Perekayasa. Jakarta: Center Language.
Sadiman, A.S., dkk. (1990). Media Pendidikan (pengertian, pengembangan, dan pemanfaatannya). Jakarta: CV. Rajawali.