ปัญหาการออกเสียงสระนาสิกภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้ ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงสระนาสิกภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีนักเรียนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ปีการศึกษา 2556 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 278 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดประมาณ 2,780 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบทดสอบการออกเสียงคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมี 2 ตอนคือ แบบทดสอบการอ่านคำเดี่ยว จำนวน 65 คำ และแบบทดสอบการอ่านคู่เทียบเสียง จำนวน 45 คู่ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการบันทึกการอ่านออกเสียงรายการคำภาษาฝรั่งเศสของกลุ่มตัวอย่างทีละคนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียนแต่ละคนได้เตรียมตัวอ่านรายการคำทั้งหมดก่อนที่จะบันทึกเสียงจริงประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลทั้งหมดมาให้เจ้าของภาษาตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยที่เรียนภาษาฝรั่งเศสส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการออกเสียงสระนาสิกภาษาฝรั่งเศส ทั้งนี้เกิดจากเสียงสระนาสิกดังกล่าวไม่มีในภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่จึงถ่ายโอนเสียงจากภาษาแม่เพื่อออกเสียงสระนาสิกภาษาฝรั่งเศส (/9~/, /O~/, /E~~/ และ /A~/) โดยการใช้เสียงสระในภาษาแม่ /7/, /o/, /E/ และ /O/ ผสมกับพยัญชนะนาสิก /N/ ในภาษาไทย และถ่ายโอนเสียงที่มีในภาษาอังกฤษเพื่อใช้ออกเสียงสระนาสิกในภาษาฝรั่งเศส
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา นาคสกุล. (2551). ระบบเสียงในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิระประภา บุญพรหม. (2551). ระบบปัญหาการออกเสียงของผู้เรียนชาวไทย (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
_______________. (2552). การประเมินประสิทธิผลกลยุทธ์สัทศาสตร์ทางแก้เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาฝรั่งเศสของนักศึกษาไทย: สัทสัมพันธ์ เสียงสระ และเสียงพยัญชนะ. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(6), 1037-1056.
เดมีย์ ระเบียบโลก. (2549). ปัญหาการออกเสียงภาษาฝรั่งเศสของนักศึกษาไทย. วารสารรามคำแหง, 26(1), 166-178.
ธีระ รุ่งธีระ. (2552ก). การออกเสียงสระในภาษาฝรั่งเศสของนิสิตวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
________. (2552ข). การศึกษาปัญหาการออกเสียงสระในภาษาฝรั่งเศสของผู้เรียนชาวไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(5), 857-869.
พุทธชาติ ธ. โปธิบาล. (2541). เสียงและระบบเสียง: ภาษาไทย. ปัตตานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
แพรวโพยม บุณยะผลึก. (2530). สัทศาสตร์ฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abry, D. & Chalaron, M. L. (2010). Les 500 exercices de phonétique, Niveau A1/A2. Paris : Hachette.
Billières, M. (1995). Didactique des Langues et Phonétique. Revue de Phonétique Appliquée. 114, 43-63.
_________. (1999). Psycholinguistique et méthodologie verbo-tonale. Revue Parole, 11-12, 173-198.
Magnen, C., Billières, M. & Gaillard, P. (2005). Surdité phonologique et catégorisation. Perception des voyelles françaises par les hispanophones. Revue Parole, 33, 9-30.
Ninlagarn, O. (1993). Analyse prosodique de différentes attitudes émotionnelles dans une langue à ton (Thèse de doctorat). Strasbourg: Université de Strasbourg.
Purinthrapibal, S. (2008). Enseignement du FLE assisté par ordinateur en Thaïlande : étude de l’aide à la compréhension des relations logiques cause-conséquence (Thèse de doctorat). Toulouse: Université de Toulouse II.
Rey, L. (2010). Bien prononcer pour bien apprendre: Méthodes de correction phonétique des voyelles du français pour les étudiants thaïlandais. วารสารสมคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, 33 (1), 7-19.
Su, L. (2011). Les erreurs phonologiques en français des étudiants taiwanais débutant: analyser et propositions de correction (Mémoire de Master 1). Grenoble: Université Stendhal Grenoble 3,
Tijani, M. A. (2006). Difficulté de communication orale : enquête sur les stratégies de communication des apprenants nigérians de français en situation exolingue (Thèse de doctorat). Franche-Compté : Université de Franche-Compté.