การศึกษาเปรียบเทียบการแสดงกถกฬิของอินเดียและการแสดงโขนของไทย

Main Article Content

วธนัญญ์ ศรีนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการแสดงกถกฬิของอินเดียกับการแสดงโขนของไทยด้านองค์ประกอบของการแสดง ผลการวิจัยพบว่า การแสดงโขนของไทยพัฒนามาจากการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ การเล่นกระบี่กระบอง และหนังใหญ่ ซึ่งการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากตำนานของการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ของกัมพูชา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ของประเทศกัมพูชา และสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า ประเทศกัมพูชาและไทยมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ในพิธีอินทราภิเษก ซึ่งลักษณะของการแสดงดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีการแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์และฝ่ายอสูร บทลงท้ายฝ่ายธรรมย่อมชนะฝ่ายอธรรม โขนได้นำหลักการแบ่งตัวละครของการละเล่นชักนาคดึกบรรพ์มาใช้ในการแสดง ลักษณะการต่อสู่ที่ใช้ในการแสดงโขนได้นำท่าทางมาจากการเล่นกระบี่กระบอง ส่วนลักษณะของการแสดงนำมาจากการแสดงหนังใหญ่ และก่อนที่จะเริ่มฝึกหัดการแสดงผู้แสดงของทั้งสองประเทศจะต้องผ่านพิธีการไหว้ครูที่เรียกว่า “อารังเงตั้ม” ของประเทศอินเดีย และ “พิธีครอบครู” ของประเทศไทย การฝึกหัดกถกฬิและโขนมีการใช้เทคนิคการถีบเหลี่ยมและการเต้นเสาเหมือนกัน เพื่อฝึกกำลังขาของผู้แสดงให้มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักของนักแสดงท่านอื่นได้ เนื่องจากต้องมีการขึ้นลอยและต่อตัวในระหว่างทำการแสดง แต่ลักษะณะการวางเท้าของอินดียผู้แสดงจะตะแคงฝ่าเท้า และงองุมเก็บนิ้วเท้าทุกนิ้ว จะไม่วางเต็มเท้าเหมือนกับโขน เรียกว่า “Haft-Sitting” ผู้แสดงกถกฬิของอินเดียจะใช้ผู้ชายแสดงล้วนเช่นเดียวกับการแสดงโขน แต่ ภายหลังอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาร่วมในการแสดงด้วย ทำให้มีการเทคนิคการแต่งหน้าแบบละครในเข้ามาใช้ในการแสดงโขนแทนการสวมหน้ากาก โดยจะยกเว้นเฉพาะตัวพระ ตัวนาง และตัวมนุษย์ที่ไม่ต้องสวมหน้ากากเช่นเดียวกับการแสดงกถกฬิที่นำเทคนิคการแต่งหน้าเข้ามาใช้ในการแสดงแทนการสวมหน้ากาก การแสดงกถกฬิจะใช้การตีบทเรียกว่า “มุทรา” โดยใช้มือในการสื่อความหมายต่างๆ เหมือนกับโขน เรียกว่า “นาฏยศัพท์” ลักษณะของการตีบทของทั้งสองการแสดงจะมีความแตกต่างกัน ผู้แสดงกถกฬิจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว และท่าทางการตีบทจะมีความเข้มแข็ง ส่วนโขนจะมีการเคลื่อนไหวที่อ่อนช้อยงดงามตามแบบแผนการละครของไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bolland, D. (1980). A guide to Kathakali: with the stories of 36 plays. New Delhi: National Book Trust.

Devi, R. (1990). Dance dialects of India. Delhi: Motilal Banarsidass.

Gopal, R. & Dadachanji, S. (1953). Indian dancing. London: Phoenix House, p.24 (quoting the Abhinaya Darpan).

Kultitikit, C. (1994). Classical Indian dance. Research report, Chulalongkorn University, Thailand.

Loubère, S. de la (1693). A new historical relation of the kingdom of Siam by Monsieur de la Loubere. (A.P. Gen. R.S.S., trans.). Retrieved from http://gateway.proquest.com/openurlctx_ver=Z39.882003&res_id=xri:eebo&rft_id=xri:eebo:image:98501:34

Wanlipodom, S. (1992). Classical music with Siamese economy and society. Bangkok: Ruenkaew.