การจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน (Model) ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ธีราธร ลำเนาครุฑ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจพื้นที่และความต้องการของคนในชุมชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวบริเวณตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ในการจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำรูปแบบถนนคนเดิน ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อจัดทำรูปแบบโมเดล (Model) และองค์ประกอบในการจัดทำถนนคนเดิน ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต


การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมรวมถึงผู้นำชุมชนและครูภูมิปัญญา จำนวน 25 คน  กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลราไวย์ ประชาชน ผู้ประกอบการ  หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรม จำนวน 205 คน และกลุ่มผู้ใช้บริการด้านการท่องเที่ยวในตำบลราไวย์ จำนวน 70 คน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มมีความต้องการให้จัดถนนคนเดินขึ้นที่ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และสร้างแรงจูงใจแก่นักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตำบลราไวย์เพิ่มมากขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้และอาชีพ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนตำบลราไวย์ รวมถึงการส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว การจัดถนนคนเดินนับได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ชุมชนมีความต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีการจำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของคนในชุมชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน ได้แก่ การตั้งบูธจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การจำหน่ายอาหารและขนมประเภทต่าง ๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการสาธิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น


ปัญหาของการจัดทำรูปแบบถนนคนเดินพบประเด็นปัญหานี้ คือ สถานที่จัดงาน การบริหารจัดการ การจราจร สถานที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย การประชาสัมพันธ์ และการรักษาความสะอาด ปัญหาที่กล่าวมาได้ข้อสรุปหลังจากการทำประชาพิจารณ์ คือ เสนอให้มีการบรรจุโครงการจัดถนนคนเดินไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากการจัดถนนคนเดินมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนฯ ดังกล่าวของเทศบาลตำลบราไวย์ เพื่อให้มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับนโยบายของทางเทศบาลตำบลราไวย์ ซึ่งการจัดทำถนนคนเดินจะสามารถจัดทำขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยจะต้องให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน เพื่อผลักดันอีกทางหนึ่ง


รูปแบบจำลองของถนนคนเดิน (Model) ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต คือ การนำสัญลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มาจำลองแบบและจัดแสดงในแต่ละพื้นที่ เพื่อแสดงให้เห็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ได้แก่คือ  กลุ่มชาวไทยพุทธ กลุ่มชาวไทยมุสลิม และกลุ่มชาวไทยใหม่ โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่ ดังนี้ (Zone A) พื้นที่สำหรับขายของทั่วไป (Zone B) เป็นพื้นที่สำหรับของพื้นเมืองสินค้า OTOP และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Zone C) พื้นที่จำหน่ายอาหารอาหารพื้นเมือง และอาหารปิ้งย่าง โดยแยกเป็น อาหารไทย อาหารมุสลิม อาหารไทยใหม่และอาหารนานาชาติและ (Zone D) เวทีใหญ่สำหรับการแสดงกิจกรรม และโต๊ะสำหรับนั่งทานอาหาร โดยจะจัดให้มีการแสดงของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยใหม่และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลราไวย์ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจรรมต่าง ๆ ของถนนคนเดิน เพื่อให้เกิดความแตกต่างและรูปแบบใหม่ในการจัดถนนคนเดินขึ้นมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา พันธ์นุช. (2558).ช้าง...ป่า...กับการอนุรักษ์.ม.ป.ป. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2558 จาก <http://www.chaipat.or.th>

จารุดา อูปเสาร์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการถนนคนเดินท่าแพ วัวลาย และสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ รป.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จำรัสนองมาก.(2541).“การบริหารงานธุรการ,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชิดจันทร์ หังสสูต. (2532). หลักและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2527). การบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู.

ชูเกียรติ ไชยวุฒิ. (2554). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการบริการโฮมสเตย์ของกลุ่มท่องเที่ยวตำบลห้วยเขย่ง. วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ต่อศักดิ์ โกษาวัง. (2555). การจัดการสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมถนนคนเดินกาดกองต้า จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2553).การบริหารวิชาการดนตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธันยา นวลละออง. (2547). แนวทางการพัฒนาการทองเที่ยวศิลปวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ ค.ม., จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ จำกัด.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). วัฒนธรรมเผ่าพันธุ์มนุษย์. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์การพิมพ์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการทองเที่ยวอยางยั่งยืน. เชียงใหม: คณะมนุษยศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม.

ปิยะนารถ ริมทอง. (2556). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการจัดการเส้นทางเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยพงศ์ ภู่ขำ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยถนนคนเดินเชื่อมใต้รถไฟฟ้า กรณีศึกษา ทางเดินเชื่อมใต้รางรถไฟฟ้าบริเวณสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ สถ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพบูลย์ ช่างเรียน และสมปราชญ์ จอมเทศ. (2521). วิทยาการจัดการและพฤติกรรมบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มัย สุขเอี่ยม. (2550). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วินัย ไชยทอง. (2547). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

พนัส เหลี่ยมสมบัติ. (2554). การใชถนนคนเดินเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนสองฝั่งถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธ์ ร.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณพร วณิชชานุกร. (2548). แนวทางการพัฒนาการท้องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ศิรินทิพย์ เลาหะวีร์. (2556). การประเมินความสำเร็จของการจัดกิจกรรมถนนคนเดินกาดกองต้า จังหวัดลำปาง. ศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหารตามสถานการณ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมคิด บางโม. (2538). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.

สมพง ดุลยอนุกิจ (2549). สังคมศาสตร์กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฏีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่12) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพง ดุลยอนุกิจ. (2549). สังคมศาสตร์กับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฏีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.

สุดชีวัน นันทวัน ณ อยุธยา. (2551). จัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์

ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมชาย วิริภิรมยกุล. (2545). การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการปาชุมชน กรณีศึกษา : ปาชุมชน บานโคกสันติสุข ตําบลวังหมี อําเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ สค.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานวัฒนธรรมนนทบุรี. (ม.ป.ป). โครงการท่องเที่ยวเรื่องวัฒนธรรมเกาะเกร็ด. ค้นเมื่อ 15 กรกฏาคม 2558 จาก http://www.m-culture.com

อาธิป เหมือนสุดใจ. (2541). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวางแผนใช้ที่ดิน เพื่อพัฒนาการทองเที่ยวเกาะช้างจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์. (2558). ถนนคนเดินเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2558 จากhttp://chiangmaistreet.blogspot.com/2007/02/blog-post.html.

อมรา พงศาพิชญ์. (ม.ป.ป). นโยบายและแผนการตลาด.ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558 จากhttp://www.tourismthailand.org.

Chaiboon, Kittikorn. (2006). Talad and Withee Cheevit: Bot Samruat Baueng Ton Giew Gub Karn Suksa Raueng Talad Nai Sangkhom Thai. (In Thai) [Market and Way of Life: Preliminary Survey on Studies about Markets in Thai Society]. In Somrak Chaisingkananont (Ed). Talad Nai Cheevit Cheevit Nai Talad . (In Thai) [Markets in Life, Life in Markets]. pp. 19-102. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre,

Chia, Lin Sien. (2003). Southeast Asia Transformed. AGeography of Change. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Gehl, (2001). Jan. Lifebetween Buildings.Using Public Spaces. (4th Ed). Copenhagen: The Danish Architectural Press.

Radompon. (2558). ทฤษฎีการจัดการองค์กร. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 Retrieved from http://www.radompon.com.

Wallipodom, Srisak. Pattanakarn Tang Sangkom-Wattanatham (2011). Thai (In Thai) [Thai Socio-cultural Development]. Bangkok: Muangboran,