การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตะโพนไทย กลองทัด เพลงหน้าพาทย์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโต้ช็อป(Adobe Photoshop) และโซนี วีกัส (Sony Vegas)

Main Article Content

สมเกียรติ ภูมิภักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของวิดิทัศน์เพลงหน้าพาทย์ ระดับปริญญาตรีปีที่ 1 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี  วีกัสที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตะโพนไทย กลองทัด ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 1 คณะศิลปศึกษา  วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ก่อนและหลังเรียนด้วยวิดิทัศน์ เพลง   หน้าพาทย์ที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี  วีกัส 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อวิดิทัศน์ เพลงหน้าพาทย์ที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี  วีกัส  


ผลการวิจัยพบว่า


1. ประสิทธิภาพของวิดิทัศน์เพลงหน้าพาทย์ที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี วีกัส โดยใช้เกณฑ์ E1 / E2 (80/80) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00 / 86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


2. นักศึกษาที่ใช้วิดิทัศน์เพลงหน้าพาทย์ที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี วีกัส มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตะโพนไทย กลองทัด ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมแตกต่างกัน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนการใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้


3. เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยวิดิทัศน์ เพลงหน้าพาทย์ที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อะโดบี โฟโต้ช็อปและโซนี วีกัส อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ภูมิภักดิ์ ส. (2018). การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตะโพนไทย กลองทัด เพลงหน้าพาทย์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโต้ช็อป(Adobe Photoshop) และโซนี วีกัส (Sony Vegas). วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(2), 136–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/114515
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2526). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555. คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

จรัสศรี กิจบัญญัติอนันต์. (2532). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน การเขียนคำและทัศนคติต่อวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษากับการสอนแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ชนก สาคริก. (2530). “เอกลักษณ์เครื่องสายไทย.” ใน ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 11.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบอิงเกณฑ์ : แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริน

ทรวิโรฒ ประสานมิตร.

มาลินี จุฑะรพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.

รวีวรรณ อังคนุรักษ์พันธ์. (2533). การวัดทัศนคติเบื้องต้น. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรุทัย ญานะพันธ์. (2543). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมในการอนุรักษ์นาฏศิลปพื้นบ้านภาคกลาง ของนักศึกษาสาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ สถาบันราชภัฏในเขตภาคกลาง.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร.

วิมลศรี อุปรมัย. (2525). ดนตรีในระบบการเรียนการสอนสำหรับชั้นประถม มัธยมและอุดมศึกษา. สมุทรปราการ.

สมปอง ม้วยอุเทศ. (2542). การศึกษาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษที่สร้างโดยวิธีลิเคอร์ทที่มีการจัดกลุ่มข้อสอบและรูปแบบคำตอบต่างกัน.วิทยานิพนธ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อมรา กล่ำเจริญ. (2526). สุนทรียนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.