โครงสร้างประโยคพื้นฐานภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ: การเปรียบเทียบเพื่อการแปลเป็นภาษาไทย

Main Article Content

โกวิทย์ พิมพวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาโครงสร้างประโยคพื้นฐานภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ : การเปรียบเทียบ เพื่อการแปลเป็นภาษาไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความสัมพันธ์ด้านเชื้อสายระหว่างภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคพื้นฐานของภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลถ่ายทอดเนื้อหาในประโยคภาษาบาลีและประโยคภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่า ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนเดียวกัน มีลักษณะเด่น คือ เป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย ประโยคหรือวาจกในภาษาบาลีเป็นแบบ SOV มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ ประโยคลิงคัตถะ ประโยคกัตตุวาจก ประโยคกัมมวาจก ประโยคภาววาจก ประโยคเหตุกัตตุวาจกและประโยคเหตุกัมมวาจก ส่วนประโยคภาษาอังกฤษเป็นแบบ SVO มี 3 ชนิด ได้แก่ ประโยคกัตตุวาจก ประโยคกัมมวาจกและประโยคเหตุกัตตุวาจก อย่างไรก็ตาม ถ้าว่าตามลักษณะเนื้อความในภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ พบประโยค 4 ชนิดเหมือนกัน ได้แก่ ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยคและประโยคความผสมหรืออเนกัตถสังกรประโยค ส่วนการแปลประโยคภาษาบาลีและภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีกลวิธีการแปลที่คล้ายคลึงกัน ข้อความที่แปลนั้นควรมีลักษณะ ดังนี้ 1) ความชัดเจน 2) ภาษาเหมาะสม 3) ภาษาเรียบง่ายและตรงตามต้นฉบับ และ 4) ความสมเหตุสมผลเท่า ๆ กับภาษาต้นฉบับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พิมพวง. (2550). คำไทยที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 01361311. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โกวิทย์ พิมพวง.(2551). รายงานผลการวิจัย การสร้างคำแบบบาลีและสันสกฤตที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เชวง จันทรเขตต์. (2528). การแปลเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ทองสุก เกตุโรจน์. (2551). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญจิรา ถึงสุข. (2555). โมดูลที่ 1 หลักและแนวทางการแปล. คู่มือการศึกษาชุดวิชาหลักการแปล.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2533). ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2541). หลักการแปลไทยเป็นมคธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระมหานพพดล สายสุดตา. (2554). การเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคในภาษาไทยกับภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี และอังกฤษ. ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.nongmaiclub.com/blog/index.

พระศรีสิทธิมุนี (พล อาภากโร). (2551). มหาพาเรียนอังกฤษ. กรุงเทพฯ : ไทยรายวันการพิมพ์.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยา). (2538). บาลีไวยากรณ์อักขรวิธี ภาคที่ 1 สมัญญาภิธานและสนธิ. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยา). (2538). บาลีไวยากรณ์อักขรวิธี ภาคที่ 2 นามและอัพยยศัพท์. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยา). (2538). บาลีไวยากรณ์อักขรวิธี ภาคที่ 3 อาขยาตและกิตก์. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยา). (2538). บาลีไวยากรณ์อักขรวิธี ภาคที่ 2 สมาสและตัทธิต. พระนคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า (กรมพระยา). (2550). อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค 1-2. พระนคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ศุภรางศุ์ อินทรารุณ. (2548). ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2554 จากhttp://www.huso.buu.ac.th/thai/web/personal/subhrang/208322/index.htm.

สัญฉวี สายบัว. (2525). หลักการแปล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพร มากแจ้ง. (2525). ภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทย. ธนบุรี: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี.

อัจฉรา ไล่ศัตรูไกล. (2555). จุดมุ่งหมาย หลักการและวิธีการแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Catford, J.C.(1965). A Linguistic Theory of Translation. London: Oxford University Press.

Longman Dictionary of Contemporary English. (1983). 3rd ed. Harlow Essex: Longman.

Newmark, Peter.(1981). Approaches to Translation. Exeter: A Wheaton & Co.Ltd.