ความสามารถในการส่งออกยางพาราไทยไปสู่ตลาดจีน

Main Article Content

ชนกนันท์ ทองขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพการส่งออกยางพาราของไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อศึกษาประเทศคู่แข่งที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราขอไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งทางการตลาดของยางพาราไทยกับประเทศอินโดนีเซียในตลาดประเทศจีน ด้วยการวิเคราะห์ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและแบบจำลองส่วนแบ่งทางการตลาด โดยใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2548-2557 ระยะเวลารวมทั้งหมด 10 ปี


ผลการวิจัยพบว่า ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและสัดส่วนทางการตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีน ในส่วนของผลการวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ พบว่าประเทศไทยและอินโดนีเซียมีค่าความได้เปรียบโดยเทียบเทียบมีค่ามากกว่า 1 ในตลาดประเทศจีน และผลการวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาด พบว่าประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าอินโดนีเซีย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2558). ทิศทางธุรกิจยางพาราของไทยสู่อาเซียน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2558 จาก http://cpdhost.cpd.go.th/cpd/thaiaseancoop/download/Thai/Publication/01-15-01-0029.pdf [2558, มกราคม 10]

กฤษณี พิสิฐศุภกุล. (2558). สถานการณ์ยางพาราปี 2557 และแนวโน้มปี 2558. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2558 จาก

https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/Rubber2014andTrend2015.pdf

กาญจนา วรชาติ. (2546). การค้าไทย-จีน หลังจีนเข้า WTO กรณีศึกษา: สินค้ายางพารา. วิทยานิพนธ์คณะเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐะปะนี มะลิซ้อน. (2539). การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทรงพล ขัติยศ. (2550). การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันส่งออกยางพาราของประเทศไทยไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยนุช เรืองขจร. (2548) ศักยภาพการแข่งขันสินค้าส่งออกของไทยและจีน ในช่วงการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน. การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภลักษณ์ เตชะยันต์. (2555). ศักยภาพการส่งออกลำไยจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน. รายงานวิจัยระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สกุลรัตมิ์ คำอุดม. (2553). ศักยภาพการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่ตลาดญี่ปุ่น. รายงานวิจัยระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธินี เรือนอินทร์. (2556). ศักยภาพการส่งออกยางพาราไทยและอินโดนีเซียในตลาดจีน. วิทยานิพนธ์คณะเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Balassa, Bela. (1965). Trade Liberalization and Revealed Comparative Advantage. Manchester School of Economics and Social Studies, 33: 99-123

Global Trade Atlas. (2015). Quality and Value of Rubber. [On-line] Available: http://gtis.com (20 December 2015).

United Nations Statistics Division. 2015. The United Nations Commodity Trade Statistics Database. [On-line] Available: http://comtrade.un.org/data/ (28 December 2015).