เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Browallia New
  • ต้นฉบับบทความมีความยาวระหว่าง 10-15 หน้ากระดาษ A4
  • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150-200 คำ โดยระบุชื่อบทความ ชื่อ - นามสกุลผู้เขียนทุกคน และคำสำคัญไม่เกิน 3-5 คำ
  • บทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  • รูปแบบการส่งบทความทั้งในรูปแบบ Microsoft Word และ PDF
  • หากมี URL สำหรับการอ้างอิง ควรระบุไว้ด้วย
  • ให้ผู้แต่งเตรียมต้นฉบับบทความ โดยรูปแบบของบทความต้องเป็นไปตามแนวทางการเตรียมบทความต้นฉบับและการส่งบทความที่วารสารกำหนดไว้เท่านั้น (กรณีบทความไม่ตรงตามรูปแบบวารสาร กองบรรณาธิการอาจไม่รับพิจารณาตีพิมพ์)
  • บทความนี้เป็นผลงานของผู้แต่งและผู้แต่งร่วม (ถ้ามี) ตามชื่อที่ระบุในบทความ และผู้แต่งทั้งหมดเห็นชอบให้ตีพิมพ์บทความนี้ลงในวารสาร ทั้งนี้ ให้ระบุชื่อผู้แต่งพร้อมทั้งอีเมลทุกคนในขั้นตอนของ Metadata ของการส่งบทความในระบบด้วย
  • ให้ผู้แต่งระบุที่อยู่ในการติดต่อและเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ในช่องข้อความถึงบรรณาธิการ ก่อนทำการส่งบทความ
  • ผู้แต่งรับรองว่าบทความนี้ไม่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) ในกรณีที่มีการอ้างอิงผลงานจากผู้อื่น ผู้แต่งได้ระบุรายการอ้างอิงครบถ้วนและถูกต้องตามจรรยาบรรณของการอ้างอิงผลงานวิจัยทุกประการ

>>>>>หลักเกณฑ์การเตรียมต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การส่งต้นฉบับบทความ
1. การเตรียมต้นฉบับ
     1.1 การเขียนบทความ
          1.1.1 เป็นบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขต (aim and scope) ของวารสาร
          1.1.2 เป็นบทความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในสาขาสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน (กรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษ ควรมีการตรวจความถูกต้องทางภาษาโดยผู้เป็นเจ้าของภาษาก่อนการส่งบทความ)
          1.1.3 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Browallia New
          1.1.4 ต้นฉบับบทความมีความยาวระหว่าง 10-15 หน้ากระดาษ A4
          1.1.5 บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150-200 คำ โดยระบุชื่อบทความ ชื่อ - นามสกุลผู้เขียนทุกคน และคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ
          1.1.6 ในส่วนชื่อ - นามสกุลผู้เขียน ให้อ้างอิงวุฒิการศึกษาขั้นสูงสุดตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) สถานที่ทำงาน/หน่วยงาน และ E-mail

     1.2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ
          1.2.1 ขนาดกระดาษ A4
          1.2.2 ระยะบรรทัด 1 เท่า (Single space)
          1.2.3 ระยะขอบกระดาษ บนและล่าง 2.54 เซนติเมตร หรือ 1.0 นิ้ว ซ้ายและขวา 1.78 เซนติเมตร หรือ 0.7 นิ้ว

     1.3 รูปแบบตัวอักษร
     ภาษาอังกฤษและภาษาไทยใช้รูปแบบอักษร Browallia New ดังนี้

ส่วนประกอบบทความ

ลักษณะตัวอักษร

รูปแบบ

ขนาดตัวอักษร

ชื่อบทความ

เน้น

ชิดซ้าย

18

ชื่อผู้แต่ง

เอียง

ชิดซ้าย

12

หน่วยงานสังกัด

ปกติ

ชิดซ้าย

12

บทคัดย่อ

ปกติ

ชิดซ้าย

12

คำสำคัญ

ปกติ

ชิดซ้าย

12

หัวข้อแบ่งตอน

เน้น

ชิดซ้าย

14

หัวข้อย่อย

เน้น

ใช้หมายเลข

14

เนื้อหาบทความ

ปกติ

-

14

การเน้นความในบทความ

เน้น

-

14

ตารางที่ แผนภูมิที่ ภาพที่

เน้น

ชิดซ้ายด้านบน

14

ที่มา

เน้น

ชิดซ้าย

12

ข้อความในตาราง

ปกติ

-

12

 

     1.4 การเขียนอ้างอิง
          1.4.1 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้แบบนาม-ปี (Author-date in-text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสารไว้ส่วนหน้าข้อความที่ต้องการอ้างอิง และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงด้วยก็ได้ หากต้องการ อาทิ

          ... ปรานี ประเสริฐสิน (2555, น. 147) …
          ... ปรานี ประเสริฐสิน (2555, หน้า 147-148) …

          1.4.2 การอ้างอิงท้ายบทความ ใช้แบบ APA Style (7th edition) และเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยบทความภาษาไทยใช้คำว่า "เอกสารอ้างอิง" และบทความภาษาอังกฤษใช้คำว่า “References” ดังตัวอย่างต่อไปนี้

          ก) หนังสือหรือตำรา
          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
          ตัวอย่าง
          ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547). ไทยในมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.


          ไพรัช ธัชยพงษ์, และกฤษณะ ช่างกล่อม. (2541). งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ แห่งชาติเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.

          ข) วารสาร
          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้า–หน้า. ฐานข้อมูลหรือ URL
          ตัวอย่าง
          โกวิทย์ พิมพวง และเมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา. (2018). ภาษาและความคิดเชิงอุดมคติในปรัชญาคำสอนเรื่อง สุภาษิตพระร่วง. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(2), 147-182. https://doi.org/10.14456/jis.2017.17

          ค) วิทยานิพนธ์
          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์ คณะ, ชื่อมหาวิทยาลัย.
          ตัวอย่าง
          พรพิมล เฉลิมพลานุภาพ. (2535). พฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารและการใช้เทคโนโลยีการ สื่อสารของบริษัทธุรกิจเอกชนที่มียอดขายสูงสุดของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตร
มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

          ง) ข้อมูลออนไลน์
          ชื่อผู้แต่ง. (ปี, วัน เดือนที่เผยแพร่). ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ. ชื่อเว็บไซต์. URL
          ตัวอย่าง
          ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2552). การลงรายการ บรรณานุกรมตามกฎ APA Style. http://www.human.cmu.ac.th/~lib/documents/Bliography.pdf

          จ) รายงานการประชุมวิชาการ
          ชื่อผู้แต่ง. (ปี). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อหัวข้อการประชุม. ชื่อการประชุม. (เลขหน้า). ฐานข้อมูล.
          ตัวอย่าง
          พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซียและ สิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย. ใน ศิริชัย กาญจนวาลี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ
(น. 97-102). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. การส่งบทความ
     ผู้เขียนสามารถส่งบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ผ่านระบบวารสารออนไลน์ได้ตลอดเวลาทาง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/index โดยแนบเอกสารประกอบดังนี้
     2.1 ต้นฉบับบทความ จำนวน 1 ชุด ทั้งไฟล์ word และ pdf
     2.2 แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฯ
     2.3 หลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมส่งบทความ


3. ค่าธรรมเนียมการส่งบทความ
     3.1 อัตราค่าธรรมเนียมในการส่งบทความ ดังต่อไปนี้
          3.1.1 บุคลากรภายในคณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ส่งบทความเสนอเข้ารับการตีพิมพ์ ไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียม หากมีสถานะเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author)
          3.1.2 บุคคลภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภายนอกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ส่งบทความเสนอเข้ารับการตีพิมพ์ ต้องชำระค่าธรรมเนียม 3,500 บาท/บทความ (กรณีเป็นภาษาไทย) หรือ 6,000 บาท/บทความ (กรณีบทความเป็นภาษาอังกฤษ)

     3.2 ชำระด้วยการโอนเงินค่าธรรมเนียมต่าง ผ่านทางบัญชีธนาคารได้ที่
     เลขที่บัญชี   795-268500-5
     ชื่อบัญชี   กองทุนวิจัยคณะวิเทศศึกษา
     ประเภทบัญชี   ออมทรัพย์
     ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

     หมายเหตุ: การชำระค่าธรรมเนียมในการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น มิได้ถือว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิเทศศึกษา ทุกบทความต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการก่อน จึงจะสามารถแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้เขียนได้ ว่าบทความผ่านการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารต่อไปหรือไม่

ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้เขียนบทความ ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือไม่ก็ตาม

>>* อ้างอิง ตามประกาศ  คลิก

4. การพิจารณาต้นฉบับ
     4.1 กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้น
     4.2 ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double-Blind Peer Review)

>>>>> ขั้นตอนการส่งบทความ คลิก

 

>>>>>แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง 

1. รูปแบบบทความ

- Word

2. แบบเสนอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฯ  Word   PDF

3. หนังสือยืนยันการถอนบทความ 

Word    PDF

4. การอ้างอิงรูปแบบ APA 7

 APA 7th Referencing Style Guide