การจัดการศึกษาเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี: กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์แนวคิด หลักปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาเพื่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการศึกษาแต่ละโรงเรียนแตกต่างกันไปตามบริบท แนวคิดการจัดการศึกษาที่สำคัญคือการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับรายวิชาต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจากกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและสร้างรายได้ให้กับผู้เรียนไปพร้อมกัน และ 2. แนวทางการจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่จัดให้มีระบบการพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง มีระบบการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู มีระบบการติดตามผลการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมหรือโครงการตามตัวชี้วัดที่อ้างอิงจากเกณฑ์ของหลักสูตรแกนกลางและแผนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร การสนับสนุนงบประมาณเฉพาะด้านเพื่อส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนมีหน้าที่บูรณาการการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมโดยเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สมาคมศิษย์เก่า และเพิ่มพูนความรู้อื่นให้กับนักเรียน เช่น การขายสินค้าออนไลน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
กรรณิการ์ สัจกุล. (2555). รูปแบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาครูตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี: บทเรียนจากโครงการพระราชทานความช่วยเหลือทางการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2559). 60 ปี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เล่ม 1. กรุงเทพ ฯ: กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2549). ด้วยจงรักและภักดี 50 ปี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. กรุงเทพ ฯ:กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2558). ตชด.อภิวาทปิยราชกุมารี. กรุงเทพ ฯ: กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฉบับฉับไว. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2565). พระราชดำรัสในโอกาสต่าง ๆ. http://www.psproject.org.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 104 – 118.
วิจารณ์ พานิช. (2565). All for Education “ให้การศึกษาคือกิจของทุกคน” สะท้อนคิด: แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยในอนาคต. กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา. http://www.eef.or.th.
ศิราพร ณ ถลาง และสุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. (2558). คติชนในบริบทข้ามพรมแดน: งานปอยใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพ ฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกลไกการส่งเสริมการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ 5 พ.ศ.2560 – 2569. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.