A Study of Supply Chain Management of Bivalve Entrepreneurs: A Bandon Bay, Surat Thani
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวทางตามแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของผู้ประกอบการในโซ่อุปทานของกลุ่มหอยสองฝาอ่าวบ้านดอน ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการ (ผู้รวบรวม) แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างระบบโซ่อุปทานของหอยแครงและหอยแมลงภู่ประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ได้แก่ ผู้จัดหาพันธุ์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค ส่วนหอยนางรมจะมี 5 ส่วนหลัก โดยขาดในส่วนของผู้จัดหาพันธุ์ แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์เชื่อมกันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำสำหรับปัญหาหลักจะเป็นเรื่องของผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นควรปรับปรุงกระบวนการจัดการในเรื่องการวางแผนการผลิตและโซ่อุปทานที่ยังขาดกลยุทธ์ในการดำเนินงานผ่านการสร้างความร่วมมือหรือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ นอกจากนี้ภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำต่อไป
Article Details
Statements and opinions expressed in articles herein are those of the authors and do not necessarily reflect the position of the editors or publisher.
Article, information, text, image, etc. which are published in Journal of International Studies, belong to Journal of International Studies. If anybody or any organization would like to use part or whole of them, they must receive written permission from Journal of International Studies before usage.
References
ชมพูนุท ด้วงจันทร์, พิมพลักษณ์ พลจรัส, อันธิกา ทรัพย์สมบูรณ์, อุษา เรณุมาศ, และคีริศา กันพ้นภัย. (2555). การศึกษาระบบโซ่อุปทานหอยแครงในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 50 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หน้า 248-255). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนกร ราชพิลา และสิทธา เจนศิริศักดิ์. (2556). ตัวชี้วัดประสิทธิภาพสายโซ่อุปทานการผลิตขั้นต้น: ข้าวโพดหวาน, วารสารเกษตรพระวรุณ, 10(1), 89-100.
นงนุช อังยุรีกุล, สุทธิจิตต์ เชิงทอง, และสายทิพย์ โสรัตน์. (2556). ขุมทรัพย์สัตว์น้ำ : คุณค่าแห่งชีวิต และวิถีชุมชนอ่าวบ้านดอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ปิติวงษ์ ตันติโชดก. (2550). การวางแผนการจัดการอ่าวบ้านดอนและเกาะนอกชายฝั่ง: การวิเคราะห์และวินิจฉัยระบบชายฝั่ง. รายงานฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์. (2550). ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล: สถานการณ์และข้อเสนอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศิริรัตน์ ตรงวัฒนาวุฒิ, ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์, และชัยวัฒน์ ใบไม้. (2561). การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานโรงสีข้าวอินทรีย์ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ โดยตัวแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน, วารสารร่มพฤกษ์, 36(1), 157-180.
สุทธิพร บุญมาก, นวิทย์ เอมเอก, อภินันท์ เอื้อกังกูร, และสานิตย์ ศรีชูเกียรติ. (2563). การจัดการโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัย: กรณีศึกษาร้านคนจับปลา ประจวบคีรีขันธ์, วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 37-51.
สุทธิวรรณ สังวร และจิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ. (2555). ต้นทุนโซ่อุปทานของปลาส้มฟัก : กรณีศึกษา OTOP อําเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี, วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 9(1), 84-97.
สมพร นันทะชัย. 2543. โครงสร้างตลาดและวิถีตลาดผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งปีการผลิต 2543. วิทยานิพนธ์เศรษศาสตรมหาบัณฑิต. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพจน์ เหล่างาม. (2554). การวัดสมรรถนะของโซ่อุปทาน (Measuring Supply Chain Performance). ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2554 จาก http://logisgisticscorner.com
Berrah, L., & Clivillé, V. (2007). Towards an aggregation performance measurement system model in a supply chain context. Computers in Industry, 58(7), 709-719.
The Supply-Chain Council. (2008). SCOR overview version 9.0 quick reference guide. SCOR Model. Retrieved March 20, 2012, from http://www.supply-chain.org/galleries/public-gallery/SCOR 9.0 Overview Booklet.pdf.