บุหรี่เถื่อน: ข้อเสนอมาตรการเชิงนโยบายการแก้ไขลักลอบนำเข้าทางชายแดนไทย – กัมพูชา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออก

Main Article Content

นักรบ เถียรอ่ำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา และแนวทางและมาตรการแก้ไขการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนทางชายแดนไทย – กัมพูชาในเขตจังหวัดภาคตะวันออก การดำเนินการวิจัยใช้วิธีบูรณาการ (Instigated Research) ระหว่างเชิงคุณภาพ คือ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการสัมภาษณ์ทั่วไป และเจาะลึก การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า และการวิเคราะห์ข้อมูล และเชิงปริมาณ คือ การใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า สถานการณ์ปัญหา ระดับการรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่เถื่อนนำเข้า ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย รูปแบบการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนหนีภาษี พบว่า กองทัพมด ร้านค้าปลอดภาษี ร้านค้ารายย่อยชายแดนฝั่งประเทศไทย การขนส่งรถเข็นขนาดใหญ่ข้ามแดน การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประมง ปัจจัยการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนหนีภาษี พบว่า ปัจจัยโครงสร้างภาษีสรรพาสามิตบุหรี่ในประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองในกัมพูชา ช่องทางตามแนวชายแดน การรับรู้ และความเชื่อของประชาชนที่มีต่อบุหรี่เถื่อนหนีภาษี ผลตอบแทนจากการลักลอบค้าบุหรี่เถื่อนหนีภาษีมีมูลค่าสูงกว่าโทษที่ได้รับโทษ การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐไทยและกัมพูชา และการขยายตัวความต้องการบุหรี่ราคาถูก แนวทางแก้ไขการลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนทางชายแดนทั้งสามพื้นมีความสอดคล้องกัน คือ บทบาทของสถานศึกษา ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายชุมชน และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนท้องถิ่น การใช้ความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนการสร้างมาตรการและกลไกทางการเมือง สังคม ภาษี และกฎหมาย

Article Details

How to Cite
เถียรอ่ำ น. (2023). บุหรี่เถื่อน: ข้อเสนอมาตรการเชิงนโยบายการแก้ไขลักลอบนำเข้าทางชายแดนไทย – กัมพูชา ในเขตจังหวัดภาคตะวันออก. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 21(2), 239–259. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2023.24
บท
บทความวิจัย

References

Chunta, S. (2015). Contraband Cigarettes Smuggling in Northern Borderof Thai-Lao-Myanmar: Situation and Guidelines to Create Mechanisms For Cooperation and Control between Thailand and Its Neighbors. Mekong-Salween Civilization Studies Journal, 6(1), 123-180. [in Thai]

Kengganpanich, M., Benjakul S., Kengganpanich, T., & Lattanand, K. (2015). Impact of Tobacco Tax Increase in 2012 on Tobacco Consumption Behavior among Current Tobacco Users. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 31(3), 1-12. [in Thai]

Prutipinyo, C. (2013). Monitoring the Consequence of Free Trade Agreementin Alcoholic Beverage. Nonthaburi: Center of Alcohol Studies. [in Thai]

Ritthipakdi, B. (2007). From Tobacco to Cigarettes and Profit on Human Life. In Somkiat Watanasirichaikul (Ed.), Tobacco Consumption Control for Health Professional Personnel and Students. (p. 1-16). Bangkok:Thai Health Professional Alliance Against Tobacco. [in Thai]

Thailand Tobacco Monopoly, Ministry of Finance. (2017). Report on the impact of enforcement act Excise Tax B.E. 2560 and related laws.

http://bit.ly/3O159pB [in Thai]

Torsanguan, C. (2013). Review of mechanisms for surveillance and seizure of Illegal cigarettes in the United Kingdom, Hong Kong special administrative region and the European. https://bit.ly/3Y3Ovu6 [in Thai]

Excise Act B.E. 2560 (2017). [in Thai]

Tobacco Products Control Act B.E. 2560 (2017). [in Thai]