องค์ความรู้ภูมิปัญญาการสืบทอด และถ่ายทอดกระบวนการแสดงประกอบท่าทางของตัวละครฝ่ายจีนในละครพันทางเรื่อง “ราชาธิราช”
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ด้านการแสดง ที่เป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านการแสดงของบทบาทตัวละครฝ่ายจีน ในละครพันทางเรื่อง ราชาธิราช เพื่อรวบรวมและบันทึกองค์ความรู้การสืบทอด และถ่ายทอดกระบวนการแสดง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2.การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 3. การสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่ผลการวิจัย พบว่า การแสดงงิ้วมีบทบาทต่อรูปแบบวิธีการแสดง ในบทบาทของตัวละครฝ่ายจีน ผ่านด้านความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับจากตัวบุคคล สู่ครูผู้ถ่ายทอดที่เป็นตัวละครเดิม และส่งผ่านในรูปแบบของการแสดง กระบวนท่า ตลอดจนองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่องค์ความรู้ภูมิปัญญาการสืบทอดและถ่ายทอดได้แก่ 1. รูปแบบ การแสดงที่มีลำดับขั้นตอน 2. วิธีฝึกหัดที่มีแบบแผน 3. มีท่ารำเฉพาะที่เป็นหัวใจสำคัญของการแสดง 4. มีวิธีการถ่ายทอดอารมณ์ 5. การแต่งกายแต่งหน้าตามลักษณะของตัวละครฝ่ายจีนที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้ากรุงจีน กามนี โจเปียว คนธง ทหารจีนและล่ามจีน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Akarachantachote, P. (2014). Transculturation of Chinese opera in Thailand. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Desgree of Doctor of Philosophy Program in Communication Arts, Faculty of Communication Arts Chulalongkorn University. [in Thai]
Charoenratan, S. (2001). “Teochiu Chinese Opera” as a social drama: Ethmic symbol of Thai-Chinese people. (A Thesis). Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts in Antharopology Department of Sociology and Antharopology Faculty of Political Science Chulalongkorn University. [in Thai]
Fine Arts Department, (1952). Performance program dange drama Rachathirach. The Episode of sammig Phra ram volunteering to fight. Bangkok: Prachan printing press. [in Thai]
Lohakad, A. (2014). Beauty of Chinese opera to contemporary jewelryby. (A Thesis). Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the DegreeBache, lor of Fine Art Department Jewelry Desi ign, Faculty of Decorative Art. Silpakorn University. [in Thai]
Pongsapich, A. (1999). Culture, religion and ethnicity: an anthropological analysis of Thai society. Bangkok: Chulalongkorn University printing. [in Thai]
Sanyawiwat, S. (2002). Sociological theory: Contents and guidelines for basic use. Bangkok: Chulalongkorn University Printing house. [in Thai] Satsanguan, N. (2000). Principles of cultural anthropology, Bangkok: Rama Printing Co., Ltd [in Thai]
Thupket, P. (2010). Strategies for linguistic dance in the drama "Rachathirat". Faculty of Arts Education. Bangkok. Bunditpatanasilpa Institute. [in Thai]
Virulrak, S. (2004). Principles of periscope dance performances. Bangkok: Chulalongkorn University Printing house. [in Thai]
Virulrak, S. (2004). The evolution of Thai dance in Rattanakosin City, 1782 – 1934. Bangkok: Chulalongkorn University Printing house. [in Thai]
Wilaisilpdelert, W. (2012). Independent study title. content analysis of journalistic photographs awarded by Issara Amantakul foundation of the Thai journalists association author. Degree. Master of Arts (Communication Studies) Chiangmai University. [in Thai]
Wingwon, S. (2012). Literature of performance. Bangkok: Kasetsart University Press. [in Thai]