ข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอนโยบายการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศจากฐานรากในบริบทของชุมชนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การวิจัยเชิงเอกสารได้แก่ เอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง เพื่อนำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ การสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งในระดับการวางนโยบายและในระดับปฏิบัติงาน 2) ประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน 3) ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ในชุมชน 4) นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนและนักเที่ยวที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการสังเกตการณ์ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอเป็นแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศของชุมชนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า แนวทางจากปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศจากฐานรากในบริบทของชุมชนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด สามารถกำหนดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็น คือ นโยบายยกระดับเพื่อการพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ ประกอบด้วยการพัฒนาส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย และการพัฒนาและการเพิ่มจุดเช็คอินในสถานที่ของชุมชน นโยบายยกระดับเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนและชุมชน ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพในด้านการสื่อสาร การพัฒนาทักษะเยาวชนสู่การเป็นมัคคุเทศน์น้อย นโยบายยกระดับเพื่อการพัฒนาศักยภาพกิจกรรม ประกอบด้วย การสร้างกติกาการท่องเที่ยว การจัดระบบด้านเวลาในการท่องเที่ยว การแบ่งแยกประเภทกิจกรรมการท่องเที่ยวให้ชัดเจน และการจัดทำแหล่งข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว และนโยบายยกระดับเพื่อการพัฒนาศักยภาพเชิงเครือข่าย ประกอบด้วย ควรมีการจัดเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรองรับการท่องเที่ยวข้ามชาติ และควรมีการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างวิสาหกิจในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Benchachaya, S. (2006). Ecological tourism. Lecture papers for the forest management course community and career development in forestry Fiscal Year 2006. [in Thai]
Boonratana, R. (2010)b. Community-based tourism in Thailand: The need and justification for an operational definition. Kasetsart Journal Social Science, 31(2), 280-289. [in Thai]
Bogdan, R., & Biklen, S. (1992). Qualitative research for education: An introduction to theory and methods (2nd ed.). MA.: Allyn and Bacon.
Saensanoh C., & Charoensup K. (2016). Integrated community-based tourism strategies for income equity building of Trat Province. Rambhai Barni Rajabhat University. [in Thai]
Tourism Authority of Thailand. (2002). Operations on eco-tourism in Thailand. Bangkok. (Tourism Authority of Thailand). [in Thai]