การพัฒนานวัตกรรมหม้อย้อมผ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน สู่เศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมหม้อย้อมผ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนสู่เศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยกลุ่มทอผ้าไหมในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ บ้านหนองคูใหญ่ อำเภอบึงบูรพ์ บ้านเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน บ้านหนองรัง อำเภอพยุห์ และบ้านน้อยนาเจริญ อำเภอปรางค์กู่ จำนวนกลุ่มละ 30 คน รวมทั้งหมด 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้ไปออกแบบและสร้างนวัตกรรมหม้อย้อมผ้า หลังจากนั้นทำการทดสอบและประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมหม้อย้อมผ้าด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้พัฒนานวัตกรรมหม้อย้อมผ้าพร้อมคู่มือการใช้ การใช้หม้อย้อมมี 3 กระบวนการ ดังนี้ 1) การเตรียมสี 2) การย้อม 3) การอบเส้นไหม โดยหม้อย้อมผลิตจากสแตนเลสเพื่อไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างและผ่านตามมาตราฐานการย้อมของกรมหม่อนไหม เมื่อนำหม้อย้อมไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมหม้อย้อมผ้าในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ฉัตรนันทภรณ์ โ. (2023). การพัฒนานวัตกรรมหม้อย้อมผ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน สู่เศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 21(1), 83–104. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

Chusangnin, C. (2021, February 10). Technology design. SciMath. https://www.scimath.org/lesson-technology/item/11313-2020-02-18-04-06-04.

Division of Chemicals and Consumer Products (DSS). (2016). Natural dyeing process. Documents for training workshops, courses on product development of woven fabrics with natural dyes in Amnat Charoen province in the project to improve the quality of community products (OTOP), the type of woven fabric to be certified as a standard. Bangkok: Department of Science Service (DSS). [in Thai]

Luepong, K., Santhongkaew, P., & Phatarathanakulchai, P. (2013). Autoclave development for using in natural dyes extraction and dyeing process under project plan textiles knowledge management for research and local wisdom conservation: a case study of Karen woven fabric. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]

Ministry of Industry. (2016). Cleaner technology-CT. https://greenindustry.diw.go.th /webgi/wp-content/uploads/2022/11/ct_industry.pdf.

Ponsri, S. (2004). Principles of sociology (5th ed.). Bangkok: Odeon Store Publishing House. [in Thai]

Pratwet, P., Sriboonruang, S., Manenin, N., & Rojanasang, C. (2018). Silk cloth, cotton fiber: From local wisdom to Sisaket identity.” Sarakham Journal, 37(5), 109-118.

Sanai, K., & Sirithip, K. (2017). The technology transfers of natural dyes of textiles for Tha Moung subdistric, Selaphum distric, Roi Et province. Roi Et: Roi Et Rajabhat University. [in Thai]