การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

Main Article Content

ปิยะพัชร์ คล้ำจีน
นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์
สุพัตรา รักการศิลป์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ และ 2) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ โดยดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 4 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การจัดสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ร่วมสนทนากลุ่มเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 3) การประเมินรูปแบบโดยผู้ประเมิน 2 กลุ่ม ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินด้านความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ และกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 20 คน ประเมินด้านความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การบริหารตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ส่วนที่ 2 แนวคิดและหลักการในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ ส่วนที่ 3 กลยุทธ์ในการดำเนินงาน และส่วนที่ 4 องค์ประกอบของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลมี 4 ด้าน 13 ตัวชี้วัด และได้คู่มือการใช้รูปแบบ และ 2) ผลการประเมินรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ในด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Educational Innovation Development Office of the Basic Education Commission. (2018). Sub-district school with good quality.

http://www.secondary5.go.th/main/sites/default/files/files_attach/โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล_compressed.PDF [in Thai]

Klumgen, P., Sakpakornkan, N., & Rukkarnsil, S. (2022). Factors influencing the effectiveness of quality sub-district school administration in Nakhonchaiburin provinces. The 5th National and International Research Conference 2022: NIRC V 2022 “Universities for Local Development Based on Sustainable Development Goals”, February 14, 2022, 467 - 478.

Leepairat, S. (2017). The world-class standard elementary school quality management model. Suthiparithat, 30(100), 261 - 271. [in Thai]

Madaus, G. F., Scriven, M. S., & Stufflebeam, D. I. (1983). Evaluation model viewpoints on education and human service evaluation (8th ed.). Boston: Kluwer-Nijhoff.

Office of the Basic Education Commission. (2013). School management manual for the development of juristic person management project. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. [in Thai]

Pengsawat, W. (2011). Model development research. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]

Phoket, T. (2021). The management model for development to quality schools of Bandonyang school under the Chiangrai primary educational service area office 4. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(1), 34 - 51. [in Thai]

Runcharoen, T., & Sripairot, W. (2011). Learning person development. Bangkok: Khao Fang. [in Thai]

Thailand Development Research Institute. (2013). Establishing basic education reform strategies for accountability. Bangkok: Thailand

Development Research Institute. [in Thai]

Uppamaiathichai, T. (2017). Fundamentals of management education (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Wattana, A. (2019). The model of administration for excellence of schools under the provincial administrative organization. Mahachula Acadamic Journal, 7(1), 55 - 69. [in Thai]