การสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงาน มหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน

Main Article Content

สุรศักดิ์ ฮุยประโคน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและศึกษาการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่ง ในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย และข้อมูลภาคสนาม จากวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน ประจำปี 2560 - 2562 จำนวน 3 โรงเรียน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างผลการศึกษา พบว่า การจัดงานเป็นการประกวดวงดนตรีคอมโบ้พร้อมหางเครื่องชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ร่วมกับจังหวัดบุรีรัมย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ใน ปี พ.ศ. 2560 - 2562มีการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) ประเภท ก วงที่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศ 2) ประเภท ข วงดนตรีลูกทุ่งหน้าใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ในการแข่งขันเวทีระดับประเทศ จัดขึ้นในวันที่ 1- 5 ธันวาคมของทุกปี ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ Buriram Castle สนามช้างอารีน่า โดยพบว่ามี 9 ขั้นตอนในกระบวนการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชันโดยผลจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบและแนวคิดการในการสร้างสรรค์นาฏกรรม โดยสามารถที่จะศึกษาและพัฒนาต่อยอดได้ในหลายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมในท้องถิ่น การนำไปเป็นแนวทางพัฒนารูปแบบการแสดงวงดนตรี รวมไปถึงการสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เกิดจากการสร้างสรรค์นาฏกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angkinun, P. (2011). Look Tung Bands: The birth of bands, rise, and fall, [Master's thesis]. Mae Fah Luang University. [in Thai]

Boonpeng, S. (2013). Thai contemporary dance, [Ph.D.'s thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Bumrungsri, V. (2014). The management of Luk Tung musical bands in Thailand, [Ph.D.'s thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Damronglerd, C. (1990). Literature of country song. Bangkok: Thai Khadi Research Institute Thammasat University. [in Thai]

Kaewsai, W. (2016). The pattern of dramatic work application for country bands in educational institutions for enhancing creative economy, [Ph.D.'s Thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Ponsiri, Y. (2013). Creative performing arts in high-school folk song bands of Mahasarakham Province, [Master's thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Srisura, K. (2014). A study success factors of Look Tung Band Muang Khong School NakhonRatchasima, [Master's thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Vannatham, N. (2014). The way to be excellence of secondary school Luk Thung band in Thailand, [Ph.D.'s thesis]. Mahasarakham University. [in Thai]

Wirunrak, S. (2004). Principles of Thai dramatics art conspectus. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]