เทวะ ภูพระอังคาร : การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธัญญนันท์ เนาวรัตน์
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของศิลปกรรมบนใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากภาพ  ทิพยบุคคลในใบเสมาที่วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม จากประชากรจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มเลือกแบบไม่เจาะจง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า ศิลปกรรมที่พบในใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เริ่มถูกลดคุณค่าและหมดความหมาย เมื่อถูกถอดถอนจากบริบททางวัฒนธรรม ซึ่งศิลปะนี้ไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยปราศจากการยึดโยงจากชุมชน รวมทั้งการถ่ายทอดส่งต่อกันมา บนพื้นที่แห่งนี้พบการทับซ้อนทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ศิลป์ ส่งผลให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยให้มีอัตลักษณ์และมีความสมบูรณ์ โดยสามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนนั้นได้ การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า “นาฏกรรม” สามารถยึดโยงความสำคัญของพื้นที่ในชุมชนให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพื้นที่แห่งความทรงจำสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณค่า ควบคู่ไปกับการต่อยอดเศรษฐกิจในชุมชนและเห็นคุณค่าของทรัพยากรชุมชนนั้น เป็นจุดขายอย่างหนึ่งทางด้านการท่องเที่ยวที่สะท้อนองค์ความรู้ รูปแบบแนวคิด และกระบวนการสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atthameth, R. (1992). Folkloristics. Chiang Mai: Humanities and Social Science, Chiang Mai Rajabhat University. [in Thai]

Chanda, P. (1993, 18 September). Khoa Angkhan Temple’s Sema. Thairath, 11.[in Thai]

Chansuwan, P. (2015). Strategies for creating Thai dramas from the local literature of Isan. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 34(5), 69-76. [in Thai]

Chotchwang, B. (2016, 5 March). Khao Phra Angkhan Buddha Place, a thousand-year-old Sema, contemporary architecture. Siam Rath, 14. [in Thai]

Jantarajumnong, S. (1997). Views of the human being in religions and philosophies. Bangkok: Sukkapabjai Press. [in Thai]

Makpa, P. (2008). The Synthesis of Thai dance researches (Research reports). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Sanguansereewanich, P. (2014, 24 January). Explore “Phu Phra Angkhan” “ancient city” on the holy volcano crater. Matichon, 20. [in Thai]

Siriamphunkul, P. (1996). History and local culture of Buriram. Buriram: Rewatpriniting. [in Thai]