การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 และเพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จำนวน 350 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที และสถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า การปรับตัวในภาพรวมของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตตรัง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 อยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบ การปรับตัวในภาพรวมของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ที่มีอายุ และชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกัน มีการปรับตัวระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Bunnark, M. (1994). Statistics for decision making. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Department of Disease Control. (2020). Covid-19 situation report. https:// ddg.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php [in Thai]
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2006). Multivariate data analysis. New Jersey: Prentice Hall.
Jaroenpo, A. (2021). New opportunities in the COVID-19 crisis. Survive, learn and adapt. Bangkok: Bangkok Post. [in Thai]
Kittiprapatsorn, S., Terdudompan, T., Paktanapakorn, P., & Sokjabok, P. (2020). The social impact of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) and the economic crisis. Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]
Niyomtam, A., Thepmanee, M., & Tongthai, W. (2017). Adaptation of students of Rajamangala University of Technology Lanna, Tak. Educational Research Journal, 12(1), 273-285. [in Thai]
Posri, R. (2011). Statistics for research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]
Sansupa, K., Kongkranphan, U., Sucaromana, U., & Nantasen, P. (2020). The adjustment of undergraduate student in pandemic COVID-19. Journal of MCU Humanities Review, 6(2), 83-97. [in Thai]
Tanrattanasrisakul, M., Iamsa-Ard, U., Singthong, M., Paiboon, K., Chamkeaw, C., Jamsawang, P., Srisawat, K., & Rodyoo, M. (2021). Adaptation under the coronavirus disease 2019 epidemic situation of Matthayomsuksa 6 students of Rachineeburana School. Journal for Social Sciences Research, 12(1), 212-228. [in Thai]
Tongkaew, T. (2020). New normal based design in education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10. [in Thai]
WHO Thailand. (2020). What is COVID-19? Bangkok: WHO Thailand. [in Thai]