หมอลำหมู่ : การปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงสู่แพลตฟอร์มใหม่ ในช่วงวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด 19

Main Article Content

อิทธิพล มะเสน

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของคณะหมอลำหมู่อีสานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของคณะหมอลำหมู่อีสานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะหมอลำอีสาน 3 คณะที่เลือกมาแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสัมภาษณแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า คณะหมอลำหมู่อีสานหรือหมอลำเรื่องต่อกลอนอีสานได้รับผลกระทบจากมาตรการ ที่ออกโดยรัฐเป็นหลัก มีผลต่อเนื่องในการยกเลิกงานของเจ้าภาพผู้จ้างงาน ทำให้เกิดผลกระทบในด้านสวัสดิการของบุคลากรที่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ฉับพลัน ทำให้ขาดรายได้ในการดำรงชีพ การปรับตัวในบริบทที่เหมาะสมขององค์กรธุรกิจวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์จึงมีความสำคัญในการรองรับสถานการณ์วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 การจัดการแสดงออนไลน์และรูปแบบการปรับใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีทางสื่อออนไลน์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คณะหมอลำหมู่อีสานสามารถสร้างรายได้ดำรงชีพและดูแลบุคลากรภายในคณะ ซึ่งรูปแบบการจัดการแสดงล้วนขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละคณะ เพื่อสร้างจุดขายและความน่าสนใจแก่ผู้ชม รูปแบบแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์มีความหลากหลาย ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงรูปแบบการใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาการแสดงในรูปแบบออนไลน์ของคณะหมอลำในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Nesusin, S. (2007). Performance development Mor Lum Mu Khon Kaen melody of Rabiebvatasilp band in Khon Kaen Province. Mahasarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Panpradub, N. (2012). Lumplern: Composition and development. Mahasarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Phaopat, N. (2021). Opportunation and challenges in post COVID-19 era for sustainable human resource management and development. Manpower Potential Development Institute Journal for Eastern Economic Corridor. Chonburi: Burapa University. [in Thai]

Prungkunpra, C. (2000). Mass communication strategies for promotion sales tape Pleng Thai company. Bangkok: Chulalongkorn University Printing house. [in Thai]

Puangmanee, T. (2011). The traditional identities of Phi Ta Khon, Phi Khon Nam and Ploral Float Local Parade: An image creation into series performance for promoting tourism in Loei Province. Bangkok: Department of Cultural. [in Thai]

Sangsawangwatthana, T., Sirisaiyas, N., & Bodeerat, C. (2020). “New Normal” A new way of life and adaptation of Thai people after Covid–19: Work education and business. Journal of Local Governance and Innovation. Surin. Surin Rajabhat University, 4(3), 371-386. [in Thai]

Sengpracha, N. (1989). Fundamental of Thai culture. Bangkok: O.A.Printing. [in Thai]